Anon Biotec web board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สารพัดเรื่องเห็ด กับ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

2 posters

Go down

สารพัดเรื่องเห็ด กับ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล Empty สารพัดเรื่องเห็ด กับ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

ตั้งหัวข้อ  Titi Thu Nov 04, 2010 9:28 pm

สวัดดีครับ อาจารย์ ผม ธิติ สมาชิกเลขที่ 2553/P94/2563 ช่วงนี้อาจารย์คงเหนื่อยน่าดูนะครับ พอดีวันนี้ผมตั้งใจเข้ามาศึกษาสิ่งที่ผมข้องใจนะครับ คือเรื่องวันหลังจากอบรมการเพาะเห็ดในขอนไม้นะครับ หลังจากอบรมเสร็จผมได้ซื้อหัวเชื้อเห็ดนางฟ้ากลับมาด้วยจำนวน 10 ขวด ตอนนี้ผมได้ส่งทาง EMS ไปที่บ้านผมที่พิจิตรเรียบร้อยแล้วรับ เค้าคิดค่าส่งผม 200 กว่าบาทครับ ซึ่งราคาค่าส่งแพงกว่าหัวเชื้อเกือบ 4 เท่าครับ เลยอยากสอบถามอาจารย์ครับ ผมสามารถจับมันเทลงถุงได้ไหมครับ พอมันเดินเต็มที่ผมก็ใช้วิธีการยอดเชื้อในก้อนเชื้อ โดยใช้กรวยยอดไปที่ปากถุงก้อนเชื้อเหมือนกับการเพาะเห็ดในขอนไม้ได้หรือเปล่าครับ ซึ่งผมจะประหยัดค่าขนส่งได้ดีมาก

ขอบพระคุณครับอาจารย์
ธิติ


ส่วนข้างล่างนี้บังเอิญได้หาข้อมูลจากสิ่งที่ผมได้ข้องใจเลยได้เจอเรื่องของอาจารย์ในหนังสือพิมพ์ เลยเอามาฝากเพื่อนๆสมาชิกครับ

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 22 ฉบับที่ 473 จากมติชน


เทคโนโลยีการเกษตร

ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา ta-nu-pong@hotmail.com

สารพัดเรื่องเห็ด กับ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล

ขณะนี้ผู้คนส่วนใหญ่หันมาใส่ใจดูแลเรื่องสุขภาพกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริโภคอาหาร ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยมาให้ความสำคัญต่อการรับประทานพืช ผักมากขึ้น มุ่งเน้นเรื่องประโยชน์และความปลอดภัยควบคู่กันไปด้วย

?เห็ด? มีสรรพคุณด้านโภชนาการค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้บริโภคจึงหันมานิยมการบริโภคเห็ดมากขึ้นในขณะนี้

สมัยก่อนการบริโภคเห็ดในประเทศ ส่วนหนึ่งสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตเห็ดได้ ที่สำคัญคือเป็นประเทศผู้ผลิตได้ในอันดับต้นๆ ของโลก โดยผู้เพาะเห็ดส่วนใหญ่เป็นรายเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศนับแสนครอบครัว ทั้งนี้มูลเหตุจูงใจที่ทำให้มีการเพาะเห็ดกันมากเพราะสามารถเพาะได้ตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องอาศัยฝนหรือแสงแดด สามารถเพาะได้ทุกสถานที่ที่เหมาะสม สามารถเพาะกับภาชนะประเภทใดๆ ก็ได้

มีการวิจัย ค้นคว้า และปรับปรุงงานด้านวิชาการเกี่ยวกับเห็ดของบรรดานักวิชาการทั้งหลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มีการผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการเพาะในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้ไปเสาะแสวงหาวัตถุดิบจากแหล่งต่างๆ ที่นับวันจะหายากและมีราคาแพงอีกต่อไป ดังนั้น การเพาะเห็ดในขณะนี้จึงดูเป็นเรื่องง่ายและสะดวก จนทำให้เกิดผู้เพาะเห็ดหน้าใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากมาย เพราะสามารถทำเป็นงานเสริมเพิ่มรายได้อีกทางจากรายได้หลักที่มีอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าตำรับตำราคู่มือการเพาะเห็ดจะมีให้ศึกษาอยู่มากมายหลายเล่ม หลายแห่ง แต่การหาซื้อมาศึกษาด้วยตนเองคงยังไม่พอ ทั้งนี้เพราะแนวปฏิบัติบางอย่างอาจไม่ชัดเจน ดังนั้น การศึกษาที่ดีคือจะต้องมีการปฏิบัติจริงควบคู่กันไป ซึ่งควรจะมีการทดสอบ ทดลอง เพราะเทคนิคหรือวิธีการที่มีอยู่ในตำรานั้น มิใช่เรื่องที่ตายตัวเสมอไป

อย่างไรก็ตาม ในบรรดาเหล่านักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านเห็ดนั้น ได้มีนักวิชาการอยู่ท่านหนึ่งที่สนใจและทุ่มเทในเรื่องการเพาะเห็ดมาตั้งแต่เด็ก เพราะครอบครัวท่านเพาะเห็ดฟางเป็นอาชีพจึงส่งผลให้ท่านได้ศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติ ตลอดจนคลุกคลีอยู่กับเกษตรกร และท่านก็คือ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล


ดร.อานนท์ คือใคร?

ในบรรดานักวิชาการที่คร่ำหวอดอยู่กับเห็ดในประเทศไทย ก็มีอยู่หลายท่าน แต่สำหรับ ดร.อานนท์อาจมีความแตกต่างตรงที่ท่านได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาเห็ดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในระหว่างปี 2524-2548 นอกจากนั้น ยังได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาด้านเห็ดขององค์กรในต่างประเทศอีกหลายองค์กร

ดร.อานนท์ เป็นคนจังหวัดแพร่ การศึกษาในระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา ท่านก็เรียนที่จังหวัดแพร่ จบปริญญาตรี วทบ.(พืชไร่), (BSC.) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน, ปริญญาโท วทม. (MS.) Colombo University, Sri Lanka และปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัย Kandy University, Sri Lanka

ท่านได้เข้าร่วมกับชมรมเห็ด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี 2516 ต่อมาปี 2518 ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานชมรมเห็ดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งท่านก็ได้ริเริ่มโครงการอบรมเห็ดขึ้นก่อนในส่วนภูมิภาค และก็ได้รับรางวัลถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยและจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วย ต่อมาในปี 2520 ท่านก็ยังได้รับรางวัลวิจัยการเพาะเห็ดฟางแบบอุตสาหกรรม และหลังจากนั้นก็ได้เริ่มงานเขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ชื่อ ?หากินบนผืนแผ่นดินไทย? (2518-2521) ทั้งยังได้จัดรายการวิทยุของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้วิธีโทรศัพท์สายตรงมาจากแอฟริกาเข้ามาจัดรายการสดๆ ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ (2541-2544) ซึ่งเป็นการให้ความรู้เรื่องของเห็ดในด้านต่างๆ และสมุนไพร

นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสมาคมถึง 2 สมัย และที่เป็นความภูมิใจมากที่สุดคือ เมื่อปี 2524-2528 ท่านได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาเห็ดขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประจำประเทศภูฏาน เป็นคนไทยคนแรกที่ประจำประเทศนี้

ด้วยความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ดจึงได้รับเกียรติจากหน่วยงานต่างๆ ขององค์กรระหว่างประเทศทั้งภายในและหลายประเทศในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกากลาง แอฟริกา ฯลฯ เป็นต้น เชิญท่านไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาและให้ความรู้



ศูนย์ประชาสัมพันธ์ อานนท์ไบโอเทค

เป็นสถานที่สำหรับจัดการฝึกอบรมการเพาะเห็ดทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ โดยศูนย์ดังกล่าวจะเป็นองค์กรที่ถือได้ว่าบุกเบิกเรื่องเห็ดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นองค์กรที่ทำการค้นคว้า ศึกษาวิจัยและพัฒนาทางด้านวิชาการเรื่องของเห็ดมาอย่างต่อเนื่องและช้านาน นอกจากนั้น ยังเป็นองค์กรที่ริเริ่มและเป็นผู้นำทางด้านการผลิตและพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ เกี่ยวกับการเพาะเห็ดเศรษฐกิจ การทำเห็ดเป็นยา และการแปรรูปเห็ด

ดร.อานนท์ เป็นบุคคลที่ทุ่มเทการทำงานด้านเห็ดมาก ได้ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลองการเพาะเห็ดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นตำราในประเทศไทยหรือตำราของต่างประเทศก็ตาม เป็นบุคคลที่สนใจถึงลักษณะทางธรรมชาติของเห็ดทุกชนิด ทุกสายพันธุ์ของทุกประเทศทั่วโลก

นอกจากนั้น ท่านยังได้เดินทางไปประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเห็ดกับผู้เชี่ยวชาญของนานาประเทศอยู่ตลอดเวลา และจากวัยเยาว์ที่ท่านต้องช่วยเหลือครอบครัวที่เพาะเห็ดฟางเป็นอาชีพเสริม จนถึงวันนี้ท่านได้สะสมความรู้ลักษณะที่เป็นการเฉพาะของเห็ดแต่ละชนิด แต่ละสายพันธุ์ ได้จำแนกข้อดี ข้อเสียเกี่ยวกับเห็ดเป็นจำนวนมาก

จากที่ผ่านมา คนทั่วไปหลายคนขาดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงเกี่ยวกับการเพาะเห็ด ก็ลงมือปฏิบัติอย่างผิดๆ ถูกๆ ทำให้เสียเงินเสียทอง เสียเวลาไปอย่างน่าเสียดายและไม่รู้จะไปพึ่งใคร ดังนั้น ท่านจึงมีเจตนารมณ์อันแน่วแน่ที่จะนำความรู้ไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่มีใจรักเห็ดและมีความประสงค์จะเพาะเห็ดเป็นอาชีพ แต่ขาดการชี้แนะอย่างถูกต้อง ด้วยเหตุนี้ ในปี 2517 จึงได้ตั้งชมรมผู้เพาะเห็ดสมัครเล่นขึ้นที่ถนนงามวงศ์วาน (ซึ่งเป็นร้านแดรี่ ควีน ในปัจจุบัน) จากนั้นได้ย้ายไปอยู่ฝั่งตรงข้ามประตูใหญ่ ด้านพหลโยธิน ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถึงปัจจุบัน ชื่อชมรมเห็ดสากล โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับเห็ด ขณะเดียวกันก็เป็นสถานที่ผลิตหัวเชื้อให้แก่บรรดาสมาชิก รวมถึงเป็นศูนย์กลางรวบรวมวัสดุอุปกรณ์ไว้บริการด้วย กิจกรรมของชมรมก็ดำเนินการเรื่อยๆ พร้อมกับสมาชิกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จึงเป็นเหตุผลให้ ดร.อานนท์เปิดสถานที่ฝึกอบรมการเพาะเห็ดชื่อ ?ศูนย์ไทยไบโอเทค ที บี ซี? ขึ้นในปี 2538 ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ได้หวังผลทางธุรกิจ แต่เน้นเฉพาะทางด้านวิชาการอย่างเดียว และเป็นหน่วยงานที่ให้ความรู้ด้านเห็ดแก่บุคคลทั่วไปและกลุ่มคณะต่างๆ จากทั่วประเทศ โดยจัดอบรมขึ้นประมาณเดือนละครั้ง และผู้ที่สนใจจะต้องมาลงชื่อลงทะเบียนไว้กับทางศูนย์ไทยไบโอเทคซึ่งเป็นสำนักงานที่ตั้งอยู่ที่ตลาดไทก่อน เมื่อเจ้าหน้าที่ของศูนย์รวบรวมจำนวนคนที่จะเข้าอบรมได้ตามที่ต้องการ (ประมาณ 20 คน ต่อครั้ง) ก็จะติดต่อกลับเพื่อแจ้งวันที่อบรม ซึ่งการอบรมจะใช้เวลาเพียงแค่วันเดียวเท่านั้น

?สมัยก่อนอบรมครั้งละ 200 กว่าคน แต่ปัจจุบันต้องการเพียงแค่ครั้งละ 20 คนเท่านั้น เพราะเป็นการอบรมแนวใหม่ กล่าวคือไม่ต้องจดเลย สอนแนวคิดที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น สอนให้เข้าใจในความเป็นธรรมชาติของเห็ด จะเห็นได้ว่าเมื่อก่อนมีการเพาะเห็ดเฉพาะในถุง แต่เดี๋ยวนี้เพาะที่ไหนก็ได้ เพาะกับอะไรก็ได้ทั้งนั้น? ดร.อานนท์ กล่าว

เรื่องการจัดอบรมได้จัดให้กับผู้สนใจมาตั้งแต่ปี 2516 แล้ว ส่วนที่มาทำเป็นจริงจังที่ศูนย์แห่งนี้เมื่อปี 2538 อย่างล่าสุดก็มีหน่วยงานจากทั่วประเทศที่เป็นหมู่คณะติดต่อมาจัดอบรมให้ ซึ่งทางศูนย์ก็ยินดี เพราะหลังจากที่ผ่านการอบรมไปแล้วก็ยังคงต้องเป็นที่ปรึกษาช่วยเหลือและให้ข้อมูลด้านต่างๆ อีกต่อไป

ส่วนด้านเนื้อหาของการอบรมที่เป็นลักษณะขั้นตอนหรือทฤษฎีต่างๆ จะอบรมเหมือนกันทุกกลุ่ม หากจะแตกต่างกันก็ในเรื่องของพันธุ์เห็ดที่แต่ละภูมิภาคของประเทศไม่เหมือนกัน โดยจะเป็นการให้ความรู้เพื่อให้สอดคล้องกับภูมิภาคนั้นๆ แต่ถ้าต้องการอบรมทุกเรื่อง ทางศูนย์ก็ยินดีสอนให้ทุกอย่าง

อย่างกรณีของที่จังหวัดกระบี่ ทางกลุ่มต้องการให้สอนเห็ดฟาง เพราะทุกวันนี้ที่กระบี่เพาะเห็ดฟางส่งมาให้ที่ร้านสุกี้ เอ็ม เค ที่กรุงเทพฯ โดยส่งมาทางเครื่องบิน ในอดีตทางใต้ไม่มีการเพาะเห็ดอย่างเพียงพอ จึงต้องนำเห็ดจากจังหวัดเพชรบุรีเพื่อส่งไปขายทางภาคใต้ หลังจากที่ ดร.อานนท์กลับมาจากกานา ก็ได้ใช้ทะลายปาล์มมาเพาะเห็ดและก็ได้นำวิธีนี้มาสอนคนที่ทางภาคใต้ ปัจจุบันทางภาคใต้กลายเป็นแหล่งผลิตเห็ดฟางที่ใหญ่ที่สุดและส่งมาขายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กรรมวิธีในการเพาะยังไม่ทันสมัย ทางศูนย์ก็ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันศูนย์ได้ดำเนินการในเชิงธุรกิจ ควบคู่ไปกับงานบริการด้านวิชาการและการตลาด โดยล่าสุดเน้นการผลิตเห็ดเป็นยาเพื่อส่งออก

สำหรับผู้ที่สนใจอยากทราบรายละเอียดหรือสนใจการอบรมเพาะเห็ดสามารถติดต่อได้ที่ ร้านไทยไบโอเทค วงเวียนที่สอง หลังตลาดไท ตรงข้ามที่จอดรถเมล์สาย 39, 510 และ 520 โทรศัพท์ (02) 908-0282, (02) 908-3308 หรือที่ www.anonbiotec.com หรือที่ tbcbiotec@yahoo.com

ขั้นตอนการเพาะเห็ด

สำหรับขั้นตอนการเพาะเห็ด ดร.อานนท์กล่าวว่า สามารถทำได้ง่ายโดยสรุปคร่าวๆ ได้ดังนี้

1. 1. การทำหัวเชื้อเห็ด เริ่มจากการนำเอาสายพันธุ์เห็ดมาจากธรรมชาติ และจากทั่วทุกมุมโลก ที่ถูกคัดเลือกหรือตรวจสอบสายพันธุ์แล้ว จากนั้นจึงนำมาทำเชื้อเห็ดที่บริสุทธิ์ที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด ในอาหารเพาะเลี้ยงบริสุทธิ์ที่อยู่ในอาหารวุ้น โดยใช้เวลาต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า อาจใช้เวลา 7-10 วัน เห็ดเป๋าฮื้อใช้เวลา 20-30 วัน เชื้อเห็ดก็จะเจริญทั่วผิวหน้าอาหารวุ้น จากนั้นก็นำเอาเชื้อบริสุทธิ์ไปเลี้ยงในเมล็ดธัญพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ข้าวฟ่าง ทั้งนี้เมล็ดข้าวฟ่างจะต้องผ่านการนึ่งให้สุกเสียก่อน (แต่เดิมใช้วิธีต้ม อาหารของเห็ดจะหายไปกับน้ำต้ม) จึงนำไปกรอกขวด แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 125 อาศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นให้ตัดเอาเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากอาหารวุ้นใส่เข้าไป ต่อมาให้นำไปเพาะเลี้ยงในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หากเป็นเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าประมาณ 7-10 วัน เส้นใยเห็ดก็จะเจริญทั่วเมล็ดข้าวฟ่างและสามารถนำไปใช้เป็นหัวเชื้อเพื่อเพาะในถุงหรือในไม้ก็ได้

สำหรับขั้นตอนการทำหัวเชื้อจะเหมือนกันทุกเห็ด แต่จะต่างกันเฉพาะเวลาที่เส้นใยเจริญเต็มที่เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนนี้จะไม่ค่อยแนะนำให้ทำ เพราะต้องลงทุนสูงและต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญเป็นอย่างดี แนะนำให้ไปซื้อจากแหล่งที่ผลิตและเชื่อถือได้ เพราะหากหัวเชื้อไม่ดี การเพาะเห็ดก็ไม่ได้ผล ซึ่งปัจจุบันนี้ราคาถูกมาก

2. การเพาะเห็ดในถุง เป็นขั้นตอนที่ส่งเสริมให้ทำกันเองด้วยวิธีง่ายๆ คือ นำวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อย ซังข้าวโพด ฟาง หญ้า ใบไม้อะไรก็ได้ หรือนำมาผสมรวมกันก็ได้ จากนั้นผสมอาหารเสริมที่มีโปรตีน เกลือแร่ วิตามินที่เห็ดต้องการ อาทิ รำละเอียด รำข้าวสาลี แป้ง ส่าเหล้า ฯลฯ เป็นต้น ในอัตราไม่เกิน 10% ผสมกับน้ำ 1 เท่าตัวของน้ำหนักวัสดุเพาะแห้ง แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติคที่ทนร้อน ใส่คอขวดแล้วอุดจุกด้วยสำลี ต่อจากนั้นนำไปนึ่งในลังหรือใช้ถัง 200 ลิตร ที่ภายในมีตะแกรงใส่น้ำสูงประมาณ 5 นิ้ว แล้วปิดฝาที่เจาะรูเพื่อให้ไอน้ำออก 1 รู ให้นึ่งนับตั้งแต่ไอน้ำเดือดเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วจึงนำออกมาไว้ในที่เย็น จึงนำหัวเชื้อในข้อ 1 เขย่าให้ร่วนเสียก่อน (ถ้าให้ดีเขย่าล่วงหน้าสัก 1-2 วัน) เทหัวเชื้อใส่ประมาณ 15-20 เมล็ด (หัวเชื้อเห็ด 1 ขวด สามารถเทได้ประมาณ 50-70 ถุง) หลังจากใส่หัวเชื้อเห็ดแล้วนำก้อนเชื้อนั้นไปบ่มหรือตั้งไว้ในที่ร่มที่อุณหภูมิปกติประมาณ 25-30 วัน เส้นใยเห็ดก็จะเจริญเติบโตเต็มวัสดุเพาะ แล้วจะนำไปขายเพื่อให้คนเปิดดอกเห็ดต่อ หรือนำไปเพื่อเปิดดอกเห็ดเองก็ได้

3. การเปิดดอกเห็ด สำหรับผู้ที่หัดเพาะเห็ดใหม่ๆ ควรเริ่มต้นด้วยขั้นตอนนี้ก่อน โดยการไปซื้อก้อนเห็ดที่ทำแล้วและมีเชื้อเห็ดเจริญทั่ววัสดุเพาะแล้ว เพียงแต่นำมาเปิดดอกจะด้วยการเปิดเอาคอและจุกออกก็จะทำให้ดอกเห็ดออกน้อยแต่ขนาดจะโต หรือจะเปิดให้กว้างทั้งปากด้วยการใช้มีดปาดปากถุงดอกเห็ดก็จะออกมามากแต่ขนาดจะเล็ก เมื่อเปิดปากถุงแล้วให้นำไปไว้ในโรงเรือน ห้องน้ำ ใต้ต้นไม้ แต่อย่าให้มีลมโกรกมาก และไม่ต้องการแสงแดด ควรเป็นที่ที่เก็บความชื้นได้ดีและอากาศต้องถ่ายเทได้สะดวก การออกดอกเห็ดแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาที่แตกต่างกัน เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า 5-7 วัน เห็ดเป๋าฮื้อ ใช้เวลา 3-4 สัปดาห์ ต่อครั้ง แต่จะให้ผลผลิตนานเป็นปี

?ทั้งหมดนี้คือวิธีการเพาะเห็ดอย่างคร่าวๆ ซึ่งจะเห็นว่าไม่ยากเลย สามารถเริ่มต้นที่ขั้นตอนไหนก่อนก็ได้ แต่แนะนำให้เริ่มที่เปิดดอกก่อน โดยก้อนเชื้อที่ซื้อ-ขายกันก็อยู่ที่ราคา 6-10 บาท เก็บเห็ดแล้วน่าจะขายได้ประมาณ 20-30 บาท โดยเป็นพืชที่ใช้พื้นที่น้อย ไม่อาศัยดิน ไม่ต้องอาศัยเทวดา ไม่ต้องการแดด ทำเป็นอาชีพเสริมได้ ที่สำคัญของที่เหลือจากการเพาะเห็ดก็กลายเป็นปุ๋ยแก่พืชได้อีก? ดร.อานนท์ กล่าว



อาหารเสริมของเห็ด

ดร.อานนท์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในสมัยก่อนการเพาะเห็ดจะต้องไปหาวัสดุจากแหล่งต่างๆ เช่น ไม้มะม่วง ไม้ก้ามปู ไม้ยางพารา ผสมกับรำละเอียด 10% ปูนขาว 1% และดีเกลือ 0.1% ซึ่งเป็นสูตรอมตะมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ปรากฏว่าในปัจจุบันวัสดุดังกล่าวนับวันจะหายากและมีราคาแพงซึ่งก็อาจเกี่ยวพันกับต้นทุนการผลิต ทางศูนย์จึงได้ทำการศึกษาวิจัยสูตรอาหารและพัฒนาวิธีการเพาะ จึงได้ผลิตออกมาเป็นอาหารเสริมที่เหมาะกับเห็ดชนิดต่างๆ อาทิ อาหารเสริม KAT 101 ที่เหมาะกับเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดโคนญี่ปุ่น หรืออาหารเสริม KAT 105 ที่เหมาะกับเห็ดหอม เห็ดขอนขาว เห็ดขอนดำ เห็ดลม เห็ดหลินจือ ดังนั้น การเพาะเห็ดในปัจจุบันมีความสะดวกและรวดเร็ว เพียงแต่ใช้อาหารเสริมดังกล่าวก็สามารถทำให้เพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิตเห็ดได้อย่างมีประสิทธิภาพ



สุขอนามัยโรงเรือนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ความล้มเหลวทางธุรกิจการเพาะเห็ด มักจะเกิดขึ้นจากการเพาะซ้ำๆ ติดต่อกันไป ซึ่งยิ่งนานเท่าไรก็จะทำให้ผลผลิตตกต่ำลงเรื่อยๆ บ้างคิดว่าเป็นเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บ้างก็ว่าเป็นเพราะกรรมวิธีการเพาะที่ไม่ถูกต้อง ทั้งหลายเหล่านั้นเกิดจากความละเลยในเรื่องของความสะอาด เพราะการเพาะเห็ดไปนานๆ ซ้ำๆ ก็จะเกิดการสะสมของเชื้อโรค ทั้งนี้เพราะสภาพของโรงเรือนและอุปกรณ์ต่างๆ เสื่อมลง

สุขอนามัยที่ถูกต้อง จะต้องยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การหมักปุ๋ย ก็ควรอยู่ห่างจากสถานที่เพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพาะดอกเห็ด และทุกครั้งที่ทำงานเสร็จควรกำจัดของเสียให้หมดอย่าให้สะสม สถานที่ อุปกรณ์ทุกชนิดหรือแม้แต่โรงเรือนเปล่าด้วย ล้างด้วยน้ำยาคลอรีนสลับกับน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และฟังแบคคิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เพาะเห็ดอยู่ ทุกประตูทางเข้า-ออก หรือช่องระบายอากาศจะต้องปิดด้วยผ้าขาวบางหรือตาข่ายชนิดความถี่อย่างน้อย 20 รู ต่อตารางนิ้ว นอกจากนั้นแล้ว ควรปล่อยให้โรงเรือนมีโอกาสพักให้แห้งบ้างเพื่อเป็นการตัดวงจรของโรคและแมลงหรือแม้กระทั่งพื้นที่รอบๆ อาคารก็ควรทำความสะอาด อย่าให้รกรุงรัง ดร.อานนท์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติม


เห็ดถั่งเช่า (Cordyceps sinensis)


ดร.อานนท์เล่าให้ฟังว่า ในระหว่างที่ไปปฏิบัติงานเป็นผู้เชี่ยวชาญเห็ดให้แก่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ที่ประเทศภูฏานในปี พ.ศ. 2524-2527 ในช่วงวันหยุดก็จะพาครอบครัวไปสำรวจเห็ดธรรมชาติที่เกิดตามป่า ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลที่แตกต่างกัน ซึ่งหลายครั้งก็ได้ขึ้นไปยังที่สูงๆ ที่มีหิมะปกคลุมในช่วงฤดูหนาวอยู่เป็นเวลานาน อาทิ เมือง Bumthung ที่ในช่วงฤดูร้อนในระหว่างเดือนพฤษภาคม-กันยายน หิมะจะละลายแต่อากาศก็ยังเย็นจัด ซึ่งก็จะมีเห็ดมากมายหลายชนิดเกิดขึ้น และเห็ดที่มักเจอบ่อยที่สุดคือ เห็ดที่มีสีน้ำตาลที่เกิดขึ้นบนตัวหนอน ซึ่งมักจะหยิบมาแกล้งลูกชายวัยขวบเศษอยู่บ่อยๆ

แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านบางคนแนะนำว่าสิ่งนั้นคือสุดยอดของยาบำรุงกำลัง หากเมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว สามารถเดินป่าในระยะทางไกลๆ ได้โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยเลย ดังนั้น ผมจึงได้นำมาส่องกล้องและเพาะเลี้ยงเส้นใยดูก็พบว่าที่เห็นเป็นหนอนนั้นก็เป็นเฉพาะเปลือกภายนอกเท่านั้น แต่ข้างในจะถูกอัดแน่นไปด้วยเส้นใยของเห็ด ครั้นเมื่ออากาศอบอุ่นขึ้น เส้นใยของเห็ดในตัวหนอนก็จะรวมกันเป็นดอกคล้ายๆ ดอกหญ้า ด้วยเหตุนี้เองภาษจีนจึงเรียกว่า ?Dong Chong Xia Cao? ซึ่งภาษาจีนแต้จิ๋วที่เรียกกันอยู่ของคนจีนในประเทศไทยเรียกว่า ตังถั่งเช่า แปลว่า สมุนไพร ?หนาวเป็นหนอน ร้อนเป็นยา worm in winter and grass in summer? ภาษาทิเบตเรียก Yar Tsa Gumba ภาษาภูฏานเรียก Yartsa Goenbub ภาษาเนปาลเรียก ศรีปาดี Sheepadee ภาษาทางวิทยาศาสตร์ชื่อ Cordyceps sinensis



งานวิจัยเห็ดเพื่อผลิตเป็นยาและอาหารเสริม

ที่ผ่านมา คนทั่วไปมักจะซื้อหาเห็ดบางชนิดมารับประทานเพื่อสร้างภูมิต้านทานโรคร้ายต่างๆ ที่คร่าชีวิตคนไทยมามาก อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง แต่เนื่องจากมักจะประสบปัญหาในเรื่องการหายาก และมีราคาแพง อีกทั้งเห็ดชนิดหนึ่งสามารถสร้างภูมิต้านทานได้เฉพาะโรคเท่านั้น ดังนั้น เพื่อตอบสนองในเรื่องดังกล่าวจึงได้มีการทดลองศึกษาคุณสมบัติของเห็ดแต่ละชนิดที่มีสรรพคุณและนำสรรพคุณของเห็ดแต่ละชนิดมาผสมรวมกันเพื่อทำเป็นอาหารเสริมสร้างภูมิต้านทานแก่ร่างกายในการป้องกันโรคร้ายต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม

?จุดเริ่มต้นที่ผมคิดตรงนี้ เพราะตัวเองมีโรคประจำตัวคือเป็นเบาหวานและแพ้อากาศ ขณะเดียวกันก็มีญาติพี่น้องหลายคนป่วยเป็นโรคอื่นอยู่ด้วย เลยคิดว่าจะรักษาด้วยวิธีอะไร จึงใช้ความรู้ที่มีอยู่นำเห็ดมาศึกษาว่าสรรพคุณแต่ละชนิดเป็นอย่างไรและพอจะมีประโยชน์ด้านการสร้างภูมิต้านทานโรคได้บ้างหรือไม่ พอหลังจากที่ได้ศึกษาเสร็จก็ทดลองใช้กับตัวเองและญาติพี่น้อง ปรากฏว่ามีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือจาก ท่านเซอร์ แซม โจนาท เจ้าของเหมืองทองที่ใหญ่ที่สุดและมากที่สุดในโลก (มีเหมืองทอง 17 แห่งทั่วโลก) ได้นำเอาเห็ดเป็นยาเพื่อใช้รักษาโรคมะเร็ง โรคเอดส์ คนงานเหมืองแร่นับล้านที่ทวีปแอฟริกา (ดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ www.anonbiotec.com) ต่อจากนั้นจึงได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังและได้ผลิตออกมานำไปช่วยผู้ช่วยที่เป็นมะเร็งบ้าง เป็นเอดส์บ้างตามสถานที่ต่างๆ และก็ได้เฝ้าติดตามอาการพบว่าผู้ป่วยเหล่านั้นไม่มีอาการแทรกซ้อนแต่อย่างใดเลย กลับมีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ? ดร.อานนท์ กล่าว

สำหรับเรื่องการวิจัยเห็ดเพื่อผลิตเป็นยานั้น ดร.อานนท์กล่าวว่า ได้มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปแล้ว แต่จำนวนการผลิตยังไม่มากพอ ก็มีจำหน่ายให้กับลูกศิษย์ คนใกล้ชิดในปริมาณที่เพียงพอ แต่หากจะให้ทำในเชิงธุรกิจคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง เหตุเพราะว่าเห็ดที่ทำเป็นยาไม่ได้เกิดจากการนำเห็ดเพียงชนิดเดียวมาทำ แต่เป็นการนำเห็ดจำนวน 6-7 ชนิด มาผสมร่วมกัน ด้วยเหตุผลว่าสรรพคุณของเห็ดแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ซึ่งการทำดังกล่าวจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของเห็ดเป็นอย่างดี ต้องอาศัยหลักทางวิชาการ ไม่ใช่จับโน่นมาใส่ จับนี่มาใส่ ไม่ใช่ยาผีบอก ดังนั้น ระยะนี้ ดร.อานนท์ อยู่ระหว่างการเร่งรัดผลิตเห็ดและสมุนไพรเป็นยาร่วมกับประเทศต่างๆ หลายประเทศ เพื่อผลิตเห็ดเป็นยาแต่ละชนิด ตามความเหมาะสมของแต่ละท้องที่ เพื่อนำมาเป็นส่วนผสมเห็ดเป็นยาได้อย่างเพียงพอในอนาคตอันใกล้นี้

หากมีการสืบค้นเรื่องของเห็ดเป็นยานั้นมีมาตั้งแต่โบราณ จะพบว่ามีการคิดค้นกันมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ดังนั้น การที่ใช้เวลานานเพื่อศึกษาและคิดค้นจะต้องทำกันอย่างละเอียดและเป็นขั้นตอน เพียงแต่ไม่รู้ว่าอะไรมันอยู่ข้างใน แต่ปัจจุบันวิทยาการมีความก้าวหน้ามากจนทำให้สามารถรู้ได้เลยว่าข้างในของเห็ดมีอะไรอยู่บ้าง

การสกัดเห็ดออกมาเป็นยา เป็นการสกัดสารต่างๆ ที่อยู่ในเห็ดหลายๆ ชนิดมารวมกัน แล้วใช้เพื่อสร้างภูมิต้านทาน เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานที่ดีแล้วก็จะไปทำให้โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นหายไป เพราะฉะนั้นหากถามว่าเห็ดรักษาโรคอะไร ขอย้ำว่าสามารถรักษาได้ทุกโรค เพราะการรับประทานเห็ดนั้น เห็ดจะช่วยสร้างภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว เห็ดเป็นยา ไม่ใช่ตัวการในการรักษาโรคโดยตรง อย่างที่วัดเทพชัยมงคล อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ลูกศิษย์ที่เคยมาอบรมเห็ด เป็นพระที่วัดแห่งนี้มานาน 20 กว่าปีที่แล้ว ก็นำเอาเห็ดเป็นยาไปขยายผลและแนะนำให้ญาติโยมต่อ นอกจากนี้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้เลือกเป็นวัดที่ใช้สำหรับปฏิบัติธรรมของผู้ที่เป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย ก็เลยเป็นภาระหน้าที่ของผมที่ต้องคอยให้ความช่วยเหลือทางด้านยาที่สกัดมาจากเห็ด

ด้วยความที่ ดร.อานนท์เป็นคนช่างสังเกต เมื่อท่านสงสัยว่าทำไมต้นโกงกางจึงได้โตเร็ว ทั้งที่เป็นไม้เนื้อแข็ง และทำไมน้ำที่เสียเมื่อผ่านรากโกงกางแล้วกลับเป็นน้ำดีหมด ทำไมกุ้ง หอย ปู ปลา จึงชวนกันมาอยู่บริเวณนี้ ทำไมกลิ่นที่ไม่ดีจึงหายไป จึงได้ลองศึกษาโครงสร้างของรากโกงกางพบว่า มีกลุ่มของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด ที่มีคุณสมบัติสามารถบำบัดน้ำเสีย สร้างฮอร์โมนและเอ็นไซม์ที่ทำให้ต้นโกงกางเจริญเติบโตได้

?ผมจึงได้นำเอากลุ่มจุลินทรีย์ดังกล่าว ตั้งชื่อว่า เชื้อ ยูเอ็ม 92 (UM 92) มาใช้กับกิจการเห็ดของผม ซึ่งสมัยก่อนเวลาแช่ข้าวฟ่างจะต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ แต่เดี๋ยวนี้เราใช้จุลินทรีย์ใส่ลงไป และหลังจากที่ใช้น้ำล้างข้าวฟ่างเสร็จแล้วก็ได้นำไปทิ้งในสระน้ำที่ขุดไว้ ซึ่งจะเห็นว่าน้ำในสระนั้นไม่มีขุ่น ไม่เสียเลย หรืออย่างกรณีที่มีการจัดสัมมนาอบรมบ่อยๆ ต้องใช้ห้องน้ำมาก ก็ได้นำจุลินทรีย์ไปใส่เพื่อเป็นการช่วยบำบัดน้ำได้เช่นกัน นอกจากนี้ หากนำไปใช้หมักกับเศษอาหาร เศษปลา ก็จะได้น้ำปุ๋ยหมักชั้นเลิศอีกด้วย? ดร.อานนท์ กล่าว



แวะเยี่ยมร้านจำหน่ายเห็ดที่เป็นอาหารเสริม

ปัจจุบันธุรกิจการผลิตเห็ดเป็นยาเสริมภูมิต้านทานของศูนย์ไทยไบโอเทค ได้ดำเนินการผลิตเพื่อส่งออกและจำหน่ายภายในประเทศ โดยมีวางจำหน่าย 2 แห่ง คือ ที่ชมรมเห็ดสากล ตั้งอยู่หน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ฝั่งตรงข้ามประตูทางเข้า กับที่ตลาดไท โดยร้านจำหน่ายหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี คุณยงยศ เอื้อตระกูล บุตรชายเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ

?เดิมทีมีอยู่หลายห้องที่ทำธุรกิจนี้แต่ถูกเวนคืนเพื่อตัดถนนเกษตร-นวมินทร์ เลยเหลือเพียงห้องเดียว ก็เลยต้องย้ายไปตั้งโรงงานที่ตลาดไท แต่เนื่องจากยังมีลูกค้าเก่าที่เคยเดินทางมาซื้อที่เกษตรก็เลยต้องใช้ที่นี่ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเก่า ในส่วนร้านตรงนี้จะทำเกี่ยวกับการรับสั่งตัดสติ๊กเกอร์ ตรายาง งานด่วนต่างๆ และก็ยังจำหน่ายสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับเห็ดด้วย? บุตรชายกล่าว

สำหรับกลุ่มลูกค้าที่มาซื้ออุปกรณ์เห็ดก็จะเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก-กลาง เพราะถ้าเป็นขนาดใหญ่ก็จะแนะนำให้ไปที่โรงงาน ส่วนปริมาณการขายถ้าหากเป็นหัวเชื้อก็จะสั่งกันเป็นสิบๆ ลัง หรือเป็นสิบๆ กระสอบ ซึ่งพอลูกค้าตกลงการสั่งซื้อในจำนวนที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ทางร้านก็จะแจ้งไปยังโรงงานเพื่อจัดของตามความต้องการของลูกค้าแล้วจึงส่งไป

ในเรื่องของเห็ดที่ผลิตเป็นยาเสริมภูมิต้านทานได้จัดทำเป็นแบบแค็ปซูล ซึ่งการแบ่งชนิดนั้นได้จัดแบ่งตามอาการที่เกิดและส่วนใหญ่ลูกค้าที่ซื้อไปก็เป็นกลุ่มคนที่เป็นเบาหวาน ความดัน ราคาจำหน่ายเป็นเม็ด เม็ดละ 32 บาท ก็มีการบรรจุเป็นชนิดซองและเป็นขวด แรกๆ ในการแนะนำใช้เห็ดเป็นยานั้น จะอยู่ในแวดวงที่แคบๆ ที่รู้จัก ญาติพี่น้อง เมื่อได้ผลดี จึงมีการแนะนำต่อๆ กันไปจนเป็นวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การรับประทานเห็ดเป็นยารักษาโรคนั้น จะได้ผลมากน้อยประการใด ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระยะของโรค และการควบคุมอาหารที่รับประทานเข้าไป ทั้งนี้ ผู้ที่นำเอาเห็ดเป็นยาไปใช้นั้น ส่วนใหญ่จะได้รับการติดตามผลและแนะนำอย่างใกล้ชิดจาก ดร.อานนท์ ส่วนใหญ่ได้ผลดี แต่สิ่งที่จะต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งขั้นสุดท้าย เมื่ออาการดีขึ้น สิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือ อาหารพวกโปรตีน ที่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป โดยเฉพาะปลาและอาหารทะเล เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอาหารไม่ย่อย ท้องบวม ถึงขั้นเสียชีวิตในเวลาค่อนข้างรวดเร็ว

ทางด้านการส่งออกของเห็ดที่เป็นยาเสริม คุณยงยศกล่าวว่า ประเทศที่ส่งออกหลักๆ ตอนนี้คือ แอฟริกาใต้ อังกฤษ เยอรมนี และจีน โดยจำหน่ายภายใต้ชื่อสินค้าว่า ?เอ็มไซม์?, ?M-Sign? ส่วนแผนการตลาดในอนาคตคาดว่าจะมุ่งเน้นตลาดต่างประเทศมากกว่า อาจจะมีการสร้างโรงงานขึ้นในต่างประเทศ โดยมีประเทศที่ให้ความสนใจแล้วคือ แอฟริกาใต้ บราซิล และเยอรมนี

ผู้ที่สนใจอยากทราบรายละเอียดหรือหาซื้ออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการเพาะเห็ดทุกชนิด สามารถโทรศัพท์ไปได้ที่ ชมรมเห็ดสากล โทร. (02) 579-9200, (02) 579-7759 (คุณยงยศ) ในทุกวันจันทร์-เสาร์ ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น.

อย่างไรก็ตาม ด้วยความมุ่งมั่น จริงจัง และทุ่มเทให้กับการศึกษา วิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับเห็ดของ ดร.อานนท์ จึงทำให้ท่านได้พัฒนา ปรับปรุงวิธีการ ตลอดจนเทคนิคการเพาะเห็ดให้มีประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิตให้ดียิ่งขึ้น อย่างกรณีการเพาะเห็ดแบบเดิมที่เรียกว่า ?อานนท์ 17? ก็ได้มีการพัฒนาแก้ไขรูปแบบและนำเทคนิคใหม่เข้ามา ซึ่งก็ได้พัฒนามาเป็น ?อานนท์ 52? อย่างในปัจจุบัน และจะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป

ดร.อานนท์ไม่เพียงแต่สนใจเฉพาะในเรื่องเห็ดเท่านั้น แต่ท่านยังให้ความสนใจกับพันธุ์ไม้ที่เป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า ?เบาบับ (Baobab)? ซึ่งมีสรรพคุณและประโยชน์นานัปการ โดยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนของต้น ในการนำไปผลิตเป็นอาหารเสริมเพื่อสร้างภูมิต้านทางโรคให้แก่ร่างกาย นอกจากนั้นแล้ว ยังมีขนาดลำต้นใหญ่มาก ใหญ่จนรถบรรทุกสามารถวิ่งลอดเข้าไปได้ อย่างไรก็ตาม ความมหัศจรรย์ของต้นไม้ดังกล่าวยังส่งผลไปถึงทางด้านวงการกีฬาของโลกคือ กีฬาฟุตบอลโลกที่จะจัดขึ้นในปี 2553 ได้ใช้เครื่องดื่มที่มาจากต้นเบาบับเป็นเครื่องดื่มในการแข่งขันด้วย จึงถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีความมหัศจรรย์เป็นอย่างมาก และในประเทศไทยก็นำต้นไม้ดังกล่าวเข้ามาปลูกและใช้ประโยชน์บ้างแล้ว สำหรับเรื่องราวของต้นเบาบับที่เป็นต้นไม้ที่มีความมหัศจรรย์ก็จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไปเช่นกัน

สุดท้ายนี้ ผู้เขียนและกองบรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ขอขอบพระคุณ ดร.อานนท์ และ อาจารย์เยาวนุช เอื้อตระกูล รวมไปถึง คุณยงยศ แ
Titi
Titi

จำนวนข้อความ : 12
Join date : 18/09/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สารพัดเรื่องเห็ด กับ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล Empty ซื้งมากค่ะ

ตั้งหัวข้อ  sumalee Thu Nov 04, 2010 10:44 pm

ยิ่งอ่านก็ยิ่งซึ้งค่ะ เพราะรู้สึกประทับใจในความเกื้อกูลของท่านอาจารย์ค่ะที่ได้พบกับตัวเอง (อาจารย์คะบางทีหายไปนานสองนาน
แต่ดิฉันก็คิดถึงอาจารย์ คิดถึงเจตนารมย์ที่ดีของอาจารย์ ที่คอยสอน คอยบอกเสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องจรรยาบรรณ)
หมายถึงไม่เอาเปรียบใคร ตรงไปตรงมา ถึงเวลาแล้วค่ะเพื่อนๆสมาชิก เราต้องมารวมพลังกันในวันที่ 10-14 พฤศจิายน นี้นะคะ
เพื่อเป็นกำลังใจให้อาจารย์ค่ะ
ป.ล. เรื่องซีดีเพลงน่ะค่ะ เป็นเรื่องเล็กๆค่ะ เทียบไม่ได้กับบทเรียนชีวิตที่อาจารย์พร่ำสอนกับลูกศิษย์ค่ะ ขอดื้อนิดนึงนะคะว่า
ถ้ามีอีกจะหามาให้อีกค่ะ จัดไป

ด้วยรักและเคารพค่ะ
สุมาลี (หนึ่ง) 2553P92/2439
sumalee
sumalee

จำนวนข้อความ : 46
Join date : 12/07/2010
Age : 55

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics
» ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ทำหน้าที่เป็นสิราณีจำเป็น ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับคนไทยกำลังคิดจะไปแต่งงานกับคนภูฏาน
» ในก้อนเห็ดมีหนอนแก้อย่างไรดีคะ
» เกียรติอันสูงส่งที่ทางสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดมอบให้เป็นการยกย่อง ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ในฐานะผู้ก่อตั้งสมาคมและทำคณูประการแก่วงการเห็ดไทย
» สเปรย์บอสกานอยต์
» คุณกานญ์ถามถึงเรื่องเห็ดรักษาโรคไตวาย

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ