Anon Biotec web board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ขอคำแนะนำการทำรูปแบบโรงเพาะเห็ดที่ประเทศโอมาน

Go down

ขอคำแนะนำการทำรูปแบบโรงเพาะเห็ดที่ประเทศโอมาน Empty ขอคำแนะนำการทำรูปแบบโรงเพาะเห็ดที่ประเทศโอมาน

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Sat Apr 07, 2012 9:55 pm

เรียน ดร.อานนท์ ที่เคารพ
เอกสารขออนุมัติกำลังดำเนินการครับ ผมเองก็ติดตามและผลักดัน คาดว่าไม่นานนี้คงผ่านได้ครับ
ผมเชื่อว่าการนำก้อนเห็ดมาเปิดดอกครั้งนี้ไม่มีปัญหาครับ เพราะก้อนเชื้ออย่างดีมาจากอาจารย์
หากแต่ที่ผมกังวลต่อไปคือ หลังจากนั้น หากต้องมีการทำเห็ดต่อๆไป
เนื่องจากปัจจัยและเงือนไขทางภูมิอากาศแล้วยังมีปัจจัยเนื่องจากลักษณะนิสัยคนตะวันออกกลางนี้มาเกี่ยวข้องครับ
ผมจึงทำรายงานขึ้นมาฉบับหนึ่ง อาจจะยาวไปสักหน่อยครับ เพื่อเสนออาจารย์ ให้ช่วยพิจารณาว่า การทำโรงเพาะเห็ด
แบบไหนจึงจะเหมาะสม ตามความเห็นของอาจารย์ครับ เพราะผมคิดมาหลายคืน คิดไปก็ฟุ้งซ่านเปล่าๆ มิสู้ส่งมาให้ผู้เชี่ยวชาญ
ได้พิจารณา หาเนื้อหายาวเกินไปก็ขออภัยด้วยครับ
ด้วยความเคารพอย่างสูง

รูปแบบโรงเพาะเห็ด ประเทศโอมาน
ภูมิอากาศประเทศโอมานคือ ร้อน ความชื้นต่ำ หน้าร้อนอยู่ที่ 49 องศา ความชื้นอยู่ระหว่าง 10-15 เปอร์เซนต์ ดังนั้นเมื่อมีลมพัดผ่าน ลมจะหอบเอาความชื้นของสิ่งต่างๆไปด้วย อุณหภูมิที่ 36 องศาคือ อุณหภูมิที่กำลังสบาย หากอุณหภูมิที่ 26 องศาจะรู้สึกหนาว ความเข้มของแสงแดดสูงมาก น้ำที่เก็บไว้ในถังพลาสติกจะมีอุณหภูมิสูงมากกว่าเก็บในถังเหล็ก เนื่องเพราะรังสีอุลตร้าไวโอเลตสามารถผ่านพลาสติกได้แล้วความถี่ลดลงเนื่องจากการหักเหในน้ำทำให้กลายเป็นรังสีอินฟาเรดที่ทำให้เกิดความร้อน น้ำที่อยู่ในบ่อซีเมนต์จะมีอุณหภูมิเย็นกว่า เพราะการระเหยจากผิวน้ำและผิวคอนกรีต ความร้อนแฝงที่ถูกดึงออกไปทำให้พลังงานความร้อนในน้ำลดลงมากกว่าวิธีอื่น ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การระเหยเป็นการลดปริมาณความร้อนได้อย่างได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับภูมิประเทศที่มีความชื้นต่ำและอุณหภูมิสูง อัตราการระเหยจึงถูกเร่งให้เร็วขึ้น เป็นผลให้ปริมาณความร้อนถูกกำจัดออกไปได้อย่างรวดเร็ว
เงื่อนไขโรงเพาะเห็ดคือ อุณหภูมิ อยู่ระหว่าง 25-35 องศา ที่ความชื้น 75-85 เปอร์เซนต์ แสงสว่างไม่มากเพียงพออ่านหนังสือได้ หากความสว่างเทียบเท่าโถงทางเดินคือ 10 ลูเมนต่อตารางเมตรก็เพียงพอ แสงสว่างที่มากไปจะทำให้เห็ดเกิดดอกเร็วขึ้นและบานเร็วขึ้น ก้อนเห็ดเสื่อมเร็ว หากแสงสว่างน้อยเกินไป จะไม่ค่อยมีผลกับเห็ดมากนักเพราะเห็ดเป็นพืชชั้นต่ำที่เกิดได้ในสภาวะชื้นและแสงแดดน้อยอยู่แล้ว และเห็ดต้องการการถ่ายเทอากาศที่ดี
ปัญหาและแนวทางป้องกัน
- ความชื้นต่ำ แนวทางป้องกันคือ เพิ่มความชื้นด้วยระบบสเปรย์ ในที่นี้จะใช้ ยูแลม เป็นตัวทำสเปรย์ เนื่องจากไม่มีปัญหาเรื่องการอุดตันของหัวสเปรย์ เพราะใช้หลักการแรงเหวี่ยงในการสร้างละอองน้ำ แม้จะได้ขนาดละอองน้ำไม่เล็กขนาดจะเป็นหมอกได้ แต่สามารถชดเชยได้ดีกับพื้นที่ที่ความชื้นต่ำมากๆ เพราะจะสามารถระเหยได้เร็วและดีกว่าในประเทศที่ความชื้นค่อนข้างสูง วัสดุที่ช่วยเพื่อพื้นที่ผิวในการระเหยคือ ผนังอิฐบล็อคแบบไม่ฉาบ หรือมุ้งเขียวที่มีตาข่าย2ชั้นเส้นใยถี่ กับพื้นที่ทำจากบล็อคตัวหนอน
- อุณหภูมิสูง แนวทางป้องกันคือ ใช้แผงอีแวปปอเรเตอร์ ร่วมกับพัดลมดูดอากาศ เพื่อให้เกิดการระเหยและลดลงของอุณหภูมิ ลมที่ดูดผ่านอีแวปปอเรเตอร์ยังช่วยให้เกิดการระบายอากาศได้เป็นอย่างดี แต่อาจต้องมีการเลือกขนาดพัดลมที่ใช้ดูดและกำหนดความยาวของห้อง เพื่อไม่ให้ลมแรงเกินไปจนกระทั่งมีผลต่อดอกเห็ดและ ต้องการการระบายอากาศที่ทั่วถึง
- การระบายอากาศ โดยอากาศที่เข้ามาใหม่ต้องมีความชื้นสูงพอสมควรเพื่อให้การทำงานของเครื่องเพิ่มความชื้นไม่หนักเกินไป แนวทางป้องกันคือ วิธีแรกเป็นการใช้อีแวปปอเรเตอร์ ดังกล่าวข้างต้น อีกวิธีหนึ่งคือ เปิดช่องทางให้อากาศถ่ายเทได้ 2 ด้าน โดยใช้มุ้งเขียวทำเป็นผนังในด้านทิศตะวันออกและตะวันตก เนื่องจากลมพัดเข้าทางทิศเหนือ
- การพรางแสง สามารถใช้มุ้งเขียวซึ่งมีความสามารถในการกรองแสงกว่า 80 เปอร์เซนต์หรือใช้ใบอินทผาลัมมุงให้ถี่ แต่ปัญหาของใบอินทผาลัมคือ เป็นแหล่งกำเนิดเชื้อราดำอย่างดี แนวทางป้องกันคือ นำใบอินทผาลัมไปชุบฟลิ๊นโค๊ดชนิดน้ำก่อนนำมาใช้ หรือการใช้สังกะสีที่มีฉนวนตรงกลางหนา 2 นิ้ว ทำเป็นหลังคาก็สามารถพรางแสงได้เช่นกัน
- น้ำที่นำมาใช้ เป็นน้ำบาดาล โดยก่อเป็นบ่อเก็บน้ำจากอิฐบล็อคหนา 20 ซม. ฉาบปูน กว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร ลึกลงไปในดิน 50 ซม.และสูงจากผิวดิน 1 เมตร ท่อน้ำเติมควบคุมคุมด้วยระบบลูกลอย ใช้ปั๊มจุ่มขนาดเล็ก แยกจ่ายน้ำระหว่าง อีแวปปอเรเตอร์ กับเครื่องเพิ่มความชื้น มีระบบลูกลอยไฟฟ้าตัดการทำงานของปั๊มเมื่อน้ำใกล้หมดแท็งค์ ใช้แผ่นกระเบื้องหรือไม้อัดปิดฝาป้องกันเศษใบไม้และฝุ่น มีเส้นใยโพลีเอสเตอร์หรือฟองน้ำกรองเศษผงก่อนเข้าปั๊ม
-










รูปแบบของโรงเห็ด
รูปแบบที่ 1 ทำเป็นลักษณะกรีนเฮ้าส์ ติดอีแวปปอเรเตอร์
ลักษณะทั่วไปคือ ตัวโรงเรือนทำจากโครงเหล็ก มุงด้วยแผ่นพลาสติกหนาขุ่น การพรางแสงอาจเพิ่มมุ้งเขียวมุงด้านบนพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง พื้นปูด้วยบล็อคตัวหนอน เพิ่มความชื้นโดยการติดตั้งหัวสเปรย์ ยูแลม โดยให้ทำงานตลอดเวลา การทำงานของพัดลมต้องมีการปรับรอบหรือขนาดพัดลมให้พอเหมาะกับความต้องการของเห็ดและไม่ทำให้ดอกเห็ดกระพือคือลมพัดผ่านแบบระนาบสม่ำเสมอ ไม่พัดผ่านแบบปั่นป่วน







รูปแบบที่ 2ทำเป็นลักษณะกรีนเฮ้า เช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1 แต่ไม่ติดตั้งอีแวปปอเรเตอร์
ลักษณะทั่วไป เป็นเช่นเดียวกับรูปแบบที่ 1 เพียงแต่ด้านที่เป็นพัดลมและอีแวปปอเรเตอร์ ติดตั้งเป็นมุ้งเขียวแทน ให้มีการถ่ายเทอากาศตามธรรมชาติ ขนาดโรงเรือนยาวไม่เกิน 12 เมตร โดยอาศัยหลักการที่ว่า ละอองน้ำที่ระเหยไปในอากาศ พื้นบล็อคตัวหนอน และผนังที่เป็นมุ้งเขียว ทำให้ให้อากาศภายในมีการขยายตัวและระบายออกทางฝั่งของมุ้งเขียวทั้งสองด้าน ทำให้มีการระบายอากาศโดยธรรมชาติอยู่แล้ว และพลาสติกก็ช่วยเก็บกักความชื้นให้อยู่ในโรงเห็ดได้ดีในระดับหนึ่ง และเนื่องจากแผ่นพลาสติกมีลักษณะขุ่นทำให้เป็นการพรางแสงไปในตัวอยู่แล้วนั้น อาจไม่ต้องใช้มุ้งเขียวมาช่วยในการพรางแสงอีกก็เป็นได้ การระเหยของละอองน้ำจากทั้งบนพื้นและมุ้งเขียวก็ช่วยลดอุณหภูมิของโรงเห็ดได้เป็นอย่างมากเช่นกัน


















รูปแบบที่ 3 ผนังทำจากอิฐบล็อค หลังคามุงด้วยสังกะสีกรุฉนวน ติดตั้งอีแวปปอเรเตอร์
ลักษณะทั่วไปคือ ผนัง 2 ด้านทำจากอิฐบล็อคหนา 20 ซม.เปลือย สูง 3 เมตร พื้นปูด้วยบล็อคตัวหนอน หลังคามุงด้วยสังกะสีชนิดมีฉนวนกลางหนา 2 นิ้ว ผนังด้านหนึ่งติดตั้งอีแวปปอเรเตอร์ ส่วนอีกด้านหนึ่งติดตั้งพัดลมและประตู โดยรอบห้องภายนอก ทำเป็นรางน้ำกว้าง 50 ซม. ลึก 20 ซม.เพื่อป้องกันแมลงและช่วยเพิ่มความชื้นพร้อมทั้งรักษาอุณหภูมิ การเพิ่มความชื้นใช้เครื่องยูแลม ซึ่งมีรัศมีการกระจายอยู่ที่ 1.30 เมตร น้ำที่สัมผัสกับผนังบล็อคจะช่วยเพิ่มการระเหยให้ดีมากขึ้นเนื่องจากบล็อคเปลือยช่วยเพิ่มพื้นที่สัมผัสของน้ำให้มีมากขึ้น การระบายอากาศผ่านพัดลมระบายอากาศช่วยให้โรงเรือนสามารถทำได้ยาวมากกว่า 12 เมตร การกำหนดขนาดพัดลมให้ลมผ่านอย่างเอื่อย พื้นบล็อคตัวหนอน จะช่วยเพิ่มการระเหยและการล้างพื้นบล็อคตัวหนอนจะทำให้น้ำยาซึมลงผ่านไปยังดินลูกรังด้านล่างโดยตรงและไม่ทำให้พื้นทรุดตัวเนื่องจากดินลูกรังมีความแน่นและผนังอิฐบล็อคช่วยล็อคไม่ให้ดินไหลไปทางอื่นได้ น้ำยาที่สะสมอยู่ใต้บล็อคตัวหนอนจะช่วยป้องกันเชื้อโรคได้นานขึ้น
รูปแบบที่ 4 ทำเป็นตู้คอนเทรนเนอร์โดยใช้สังกะสีชนิดมีฉนวนตรงกลาง
ลักษณะทั่วไปคือ ตู้กล่องสี่เหลี่ยม โครงเหล็กกรุด้วย สังกะสีชนิดมีฉนวนกลาง กว้าง 4 เมตร สูง 3 เมตร ยาว 10 เมตร ยกพื้นสูงจากผิวดิน 30 ซม. ผนังด้านหนึ่งติดตั้งแผงอีแวปปอเรเตอร์ ส่วนผนังตรงข้ามติดตั้งพัดลมระบายอากาศ ติดตั้งเครื่องเพิ่มความชื้น และ เครื่องปรับอากาศ ขนาด 2 ตันเป็นแอร์หน้าต่างตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 30 องศาเซลเซียส มีท่อเดรนน้ำที่พื้นสำหรับน้ำส่วนเกินจากการสเปรย์ ประตูเป็นลักษณะเปิดออกและมีขอบยางกันอากาศรั่วเข้าทำจากวัสดุเดียวกันกับผนัง ภายในมีหลอดตะเกียบหุ้มด้วยถุงพลาสติกเพื่อกันน้ำ ที่พัดลมระบายอากาศ ภายนอกมีชัตเตอร์ปิดเมื่อหยุดทำงานและภายในเป็นมุ้งกันแมลง
ข้อดีข้อเสียของแต่ละแบบ
รูปแบบที่ 1
ข้อดีคือ สามารถดัดแปลงจากโรงเรือนที่มีการเพาะปลูกอยู่แล้วมาทำเป็นโรงเห็ดได้เลย โดยปูบล็อคตัวหนอน แล้วอบฆ่าเชื้อทำความสะอาด ปรับรอบพัดลม และอาจต้องหามุ้งเขียวมาบังลมให้เห็ดเพื่อลดความเร็วลมลงอีก หากจำนวนก้อนเห็ดไม่แน่นเกินไป จะสามารถระบายอากาศได้ดี เพราะมีขนาด กว้าง 9 เมตร ยาว 30-40 เมตร ระบบน้ำหยดที่จ่ายให้กับพืชของเดิมก็สามารถมาใช้จ่ายให้กับเครื่องยูแลมได้
ข้อเสียคือ ไม่ได้ประโยชน์จากการก่อสร้างโรงเรือน การปูบล็อคก็สามารถใช้แรงงานอินเดียราคาถูก ชั้นวางเห็ดก็หาจ้างจากร้านเชื่อมเหล็กทั่วไปที่มีอยู่เกลื่อนเมืองให้ทำขึ้น จะมีรายได้บ้างก็จากระบบที่ติดตั้งเพิ่มเข้าไปเพื่อเพิ่มและควบคุมความชื้นเพียงเท่านั้น หากเกษตรกรโอมานต้องการเพาะเห็ดแต่ยังไม่มีโรงเห็ดก็จะทำเป็นโรงเรือนดังกล่าว ซึ่งก็มีบริษัทฯของอียิปต์รับทำอยู่แล้ว เราจึงอาจขายได้เพียงระบบเท่านั้น
รูปแบบที่ 2
ข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องพัดลมและตัวทำอีแวปปอเรเตอร์ สามารถทำโรงขนาดเล็กเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้ ควบคุมความชื้นได้ง่ายเพราะโรงเรือนจะมีขนาดไม่ใหญ่อาจกว้าง 4-6 เมตร และยาวเพียง 10-12 เมตรเท่านั้น
ข้อเสียคือ ผลิตเห็ดได้น้อย ทำให้การเพาะเห็ดดูเป็นเรื่องกระจอก การช่วยเกษตรกรโอมาน ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร หากต้องรับสร้างด้วยก็ไม่ค่อยได้ราคา และคนที่รับทำกรีนเฮ้าส์ก็จะเสนอให้ทำเป็นรูปแบบที่ 1 การขายระบบเพิ่มความชื้นก็จะได้น้อยเพราะโรงเรือนมีขนาดเล็ก
รูปแบบที่ 3
ข้อดีคือ ต้องมีการก่อสร้างใหม่ ดูเหมือนเป็นระบบใหม่ โดยเฉพาะสำหรับเห็ด การจัดวางชั้นวาง และสเปรย์เพิ่มความชื้นทำได้ง่ายเพราะเป็นการทำออกมาใหม่ทั้งหมด ดูแลความสะอาดได้ง่ายและป้องกันแมลงได้ดี สามารถทำให้มีความยาวมากกว่า 12 เมตรได้ เพราะมีชุดทำอีแวปปอเรเตอร์ สามารถรับทำเป็นงานก่อสร้างได้
ข้อเสียคือ ห้องจะเป็นการปิดทึบ เกือบไม่มีแสง ต้องมีการคำนวณการระบายอากาศให้สอดคล้องกับขนาดห้องและจำนวนก้อนเห็ด การระเหยสูง ทำให้เปลืองน้ำมากกว่าแบบอื่น
รูปแบบที่ 4
ข้อดีคือ มีการออกแบบและทำขึ้นมาใหม่ ให้แตกต่างจากการเพาะปลูกทั่วไป สามารถควบคุมได้ทั้งอุณหภูมิและความชื้น จึงทำให้สามารถเพาะเห็ดได้หลายชนิด การทำความสะอาดง่ายกว่า สามารถทำเป็นยูนิตไปตั้งแล้วทำงานได้เลย มีขนาดไม่ใหญ่นัก จึงสามารถหาไปตั้งหลังบ้านเพื่อทำการเพาะเห็ดได้
ข้อเสียคือ การขนส่งลำบาก หากต้องไปประกอบเป็นชิ้นหน้างานก็จะเสียเวลา ราคาสูง หากเลิกการเพาะเห็ดแล้วไม่สามารถดัดแปลงไปทำอย่างอื่นต่อได้ แสงสว่างอาจไม่เพียงพอต่อเห็ด(แก้ได้โดยเพิ่มหน้าต่างกระจกแบบติดตาย)
ปัจจัยอันเนื่องมาจากลักษณะนิสัยของคนโอมาน
- นิสัยชอบลอกเลียนแบบคนอื่น แต่การลอกเลียนแบบคือการดูเอาแล้วไปสั่งเขาทำให้เหมือนแบบนั้น ไม่มีการคิดปรับปรุงหรือประยุกต์ใดๆ ดังนั้นหากทำโรงเห็ดแบบใดออกไปแล้วก็ต้องใช้แบบนั้นเป็นมาตรฐานของประเทศนี้ตลอดไป เปลี่ยนเอาแบบใหม่ๆเพิ่มเติมไปไม่ได้ เพราะมันไม่เหมือนแบบแรกที่ทำไว้
- เงินน้อยๆมีปัญหามาก และจ่ายยาก วุ่นวาย เงินจำนวนมากๆ จ่ายง่าย ไม่ค่อยมีปัญหา
- ไม่อ่าน ไม่เปรียบเทียบ ไม่วิเคราะห์ ใดๆทั้งสิ้น ตัดสินใจเพราะว่าเพื่อนหรือญาติ บอกมาว่าดี ก็เอา ถ้าจะเอา จะเอาเดี๋ยวนี้ จ่ายได้ทันที ไม่เกี่ยงราคา
- ใครดีด้วย จะแสดงการเอาเปรียบ เพราะคิดว่าการเอาเปรียบได้คือ การแสดงถึงความฉลาด แต่การแสดงลักษณะการเอาเปรียบก็ทำเพียงเหมือนเด็กๆที่งอแงเท่านั้น ไม่ได้ร้ายกาจ แต่น่ารำคาญ หากแต่ถูกใครร้ายด้วย หรือโกงไป กลับจะเป็นฝ่ายยอมเขาหมด กลัวคนที่เขาร้ายและขี้โกง รักหน้าตา ไม่ชอบขึ้นโรงขึ้นศาล
- ชอบอวดรู้ทั้งที่ไม่ได้รู้อะไรเลย รับไม่ได้หากจะให้ใครรู้ว่าตัวเองโง่ แต่จริงๆแล้ว สมองกลวง อาการหนักกว่าโง่เสียอีก การสอนคนโอมาน จึงเป็นเรื่องยาก ถึงยากที่สุด
- อยากได้เงิน แต่ไม่อยากทำงาน ปกติจึงนิยมใช้แต่อินเดีย บังกลาเทศ และปากีทำงานให้ ตัวเองก็ฝันและนั่งๆนอนๆรอแต่ว่าเมื่อไรจะได้เงินมากๆ และคิดฝันจินตนาการฟุ้งเฟื่อง
- เรื่องที่คนโอมานไม่สนใจคือ สุขภาพ คุณภาพ การศึกษา และ ความปลอดภัย ดังนั้นเรื่องเหล่านี้จึงไม่มีใครยอมจ่ายเงินหรือจ่ายก็ต้องราคาถูกที่สุด สิ่งที่คนโอมานสนใจคือ เซ็กซ์และการบันเทิงเริงรมณ์ จ่ายได้ เท่าไรเท่ากัน ต้องกู้แบงค์มาจ่ายก็ยอม
ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้การเพาะเห็ดเพื่อขายคนตะวันออกกลางไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควรถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่เพียงคนตะวันออกกลางไม่สนใจเรื่องสุขภาพ การเพาะเพื่อขายจึงต้องส่งขายไปยังภัตราคารและโรงแรม หรือส่งออกไปยัง อาหรับอีมิเรต และ การ์ตา ซึ่งมีชาวต่างชาติอาศัยอยู่มาก การจะสอนให้คนโอมานทำก้อนเชื้อเห็ดแทบเป็นไปไม่ได้เลย การใช้แรงงานอินเดียและบังกลาเทศ ก็มีความสามารถทำงานได้เพียงอย่างเดียว หากให้บดเศษไม้แล้ว ก็ไม่สามารถจะหมักได้ และการบรรจุ รวมถึงการนึ่งฆ่าเชื้อก็ต้องใช้แยกคนกันไป โดยทุกคนถูกปลูกฝังให้เชื่อว่า คนๆนึงสามารถทำงานได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะนำการทำรูปแบบโรงเพาะเห็ดที่ประเทศโอมาน Empty เลือกแบบที่ 4 เป็นโรงเรือนแบบปิด ที่ขายได้ทั้งเห็ดและเทคโนโลยี ในประเทศโอมาน

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Sat Apr 07, 2012 9:58 pm

ขอตอบแบบฟันธงเลยว่า รูปแบบที่ 4 นั้นดีที่สุด ทำแบบห้องเย็นใช้ผนังไอโซวอล ทำง่าย ประกอบง่าย ราคาก็ไม่น่าจะแพง เพราะเพียงแต่เป็นผนังโฟมอัดข้างนอกด้วยเหล็กชุบเท่านั้นเอง แบบนี้ตอบโจทย์ได้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะกับพวกที่มีเงินแต่สมองกลวง ผมว่าคุณโชคดีแล้ว ที่บ้านเราแย่กว่านี้ บางคนแม้สมองจะไม่กลวง แต่สมองเต็มไปด้วยขี้สารพัด (ขี้โกง ขี้เกียจ ขี้อิจฉา ริษยา) อยู่ที่นี่ดีแล้ว และพยายามทำให้ดูเหมือยว่า ไฮเทคเข้าไว้ เพราะหวังว่า คุณคงไม่ต้องการไปทำมาหากินที่นี่จนต้องโอนสัญชาติเป็นโอมานแน่ๆ แล้วก็ไม่ต้องพูดว่ามันดีกับร่างกายหรอก บอกไปเลยว่า มันปลุกเซ็กซ์อย่างกะม้าก็แล้วกัน เพราะโปรตีนมันสูงไง เรื่องของโรงเรือนแบบที่ 4 นั้น คุณไม่ต้องไปสนใจเรื่องแสงเลย แสงแค่หลอดตะเกียบ 13 หรือ 20 แรงเทียน 2 หลอดสำหรับโรงกว้าง 6 x 12 เมตร ก็เพียงพอแล้ว แสงมีความจำเป็นช่วงที่กระตุ้นให้เส้นใยรวมตัวกันเป็นดอกเท่านั้น นอกนั้น ไม่จำเป็น มีก็ได้ ไม่มีก็ได้ สิ่งที่จะต้องดูแลเป็นพิเศษ ก็คือ เรื่องของความชื้น และอุณหภมิ ส่วนอากาศนั้น มีการระบายบ้างเป็นครั้งคราวก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศตลอดเวลา เราอาจตั้งเวลาให้มันทำงานได้ แต่หากเป็นบ้านเรา ก็สังเกตที่ดอกเห็ดเอา หากดอกเห็ดก้านยาว หมวกเล็ก แสดงว่าขาดอากาศ ก็เพิ่มการระบายอากาศ ก็เท่านั้นเอง ส่วนอุณหภูมินั้น ให้มันกระชากเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวเย็น จะดีมาก คำว่าร้อน คือ ประมาณ 25-36 องศาเซลเซียส คำว่า เย็นก็ประมาณ 18-22 องศาเซลเซียส จะเป็นการกระตุ้นให้เห็ดเกิดดอกดีขึ้น หากเกิดแล้ว อุณหภูมิที่ 24-26 องศาเซลเซียสดีที่สุด ง่ายแค่นี้ คุณก็ตั้งโปรแกรมตามความถนัดทางวิศวกรรมของคุณเลย ขายเป็นเทคโนโลยีแบบแพ๊คเกจดีกว่า ปลูกเห็ดขายครับ
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะนำการทำรูปแบบโรงเพาะเห็ดที่ประเทศโอมาน Empty ตอบมาจากโอมานวันที่ 8 เมษายน 2555

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Sun Apr 08, 2012 9:29 pm

ขอบคุณครับ อาจารย์
ตรง ประเด็นเลยครับ ถ้าบอกว่ากินแล้วปลุกเซ็กซ์ มีเท่าไรไม่พอขาย แพงเท่าไรก็ซื้อ เรื่องอุณหภูมิ และความชื้นผมมั่นใจว่าคุมได้ครับ ส่วนเรื่องการระบายอากาศผมจะสังเกตเอาจากรูปลักษณะของเห็ด สักครั้งสองครั้งคิดว่าปรับให้เข้าที่ได้ครับ
ลูกน้องผมไปเจอโรงเพาะเห็ดแชมปิยองเข้าแล้วครับ ผมเคยแต่ได้ยินว่าอยู่ใกล้ๆฟาร์มที่ผมอยู่ วันนี้ผ่านไปพึ่งได้เห็น
เฉพาะ เงินลงทุนก่อสร้างโรงเห็ดผมว่าไม่น่าต่ำกว่า 200 ล้านบาทไทยครับ คนงานอีกเป็นร้อย วันนี้แขกถามผมว่าจะเพาะเห็ดต้องมีเงินลงทุนเท่าไร เลยบอกไปแบบอายๆว่า 40 ล้านบาท แต่ยังนึกไม่ออกเลยครับว่าจะไปอัพราคาการก่อสร้างอย่างไร พยายามนึกถึงสมัยหนุ่มๆที่ทำงานกับญี่ปุ๋น และฝรั่ง พวกนี้เขามีวิธีทำให้มันดูดีมีราคาครับ ส่วนเทคโนโลยีทั้งหลายผมจัดใส่เข้าไปได้ครับ สารพัดเซนเซอร์ ระบบออโต้ทั้งหลาย
ผม มานั่งอ่านหนังสือเกี่ยวกับเห็ดของอาจารย์อยู่อีกหลายรอบ ทำให้คิดว่า เอา KAT101,KAT901 กับเชื้อยูเอ็มมาหมัก และสารไล่แมลงกับฮอโมน มาทำก้อนเชื้อเห็ดที่นี่ ก็น่าจะเพียงพอไหมครับ เพราะที่นี่ไม่มีรำข้าว ไม่มีดีเกลือ ใบกระถินมีก็นิดหน่อย ส่วนมากเป็นสะเดาครับ สำหรับผมต้องขอศึกษากับอาจารย์อย่างละเอียดและฝึกฝนให้ดีก่อนครับ กับคิดว่าถ้าเป็นไปได้อยากขอไปดูฟาร์มเห็ดที่เป็นลูกศิษย์อาจารย์ว่า ทำจริงๆต้องใช้เครื่องมืออะไรบ้าง อาจต้องไปขอฝึกทักษะเพิ่มเติม โดยเฉพาะตอนเขี่ยหัวเชื้อข้าวฟ่างใส่ถุง เพราะสงสัยว่าที่โอมานไม่มีใครทำแน่ๆครับ งานนี้น่าจะเหนื่อย แต่ดูแล้วจะสบายใจกว่าอยู่ที่ไทย หวังว่าอนาคตเมืองไทยสงบราบคาบแล้วผมจะได้กลับไปพักผ่อน อยู่กับฟาร์มเหมือนอย่างอาจารย์บ้างครับ...
ด้วยความเคารพ
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะนำการทำรูปแบบโรงเพาะเห็ดที่ประเทศโอมาน Empty ตอบเมล์จากโอมาน 8 เมษายน 2555

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Sun Apr 08, 2012 9:41 pm

นั่น แหละครับ ลุยเลย อย่างผมนี่ เวลาผมสอนคนไทยให้ทำเชื้อบริสุทธิ์ ที่เลี้ยงในอาหารวุ้น ผมก็สอนให้ใช้มันฝรั่ง ปอกหรือไม่ปอกเปลือกก็ได้ ชั่งหรือไม่ชั่งก็ได้ เอากำปั้นวัดเอา กะเอาว่า ให้ได้ขนาดเท่า 2 กำปั้น แล้วเอามาต้มเพื่อสกัดเอาอาหารของเห็ดออกมาเป็นอาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดแล้วก็ ใส่วุ้นทำขนมบ้านเราใส่เข้าไปสัก 2 ช้อนต่อน้ำ 1 ลิตร แต่เวลาไปสอนต่างประเทศ ซึ่งเขาต้องจ่ายผมทุกวัน รวมทั้งวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุด เขาก็ต้องจ่ายอย่างน้อยวันละ 500 ดอลลาร์ยังไม่รวมเบี้ยเลี้ยงน๊ะ ดังนั้น เวลาสอน ก็จะใช้สารเคมี และใช้ตราชั่งแบบที่ใช้ในห้องแล็ป อุปกรณ์ที่ใส่วุ้นก็ต้องเป็นเครื่องแก้ว Pyrex แต่ในเมืองไทย เราใช้ขวดแบน โดยสนับสนุนให้คนไทยกินแบบแบนมากกว่าแบบกลม การสอนก็จะเน้นให้เป็นวิชามากๆ เพราะต้องใช้เวลานานมากในการสอน เพื่อเขาจะเห็นว่า เราเป็นนักวิชาการจริงๆ หากสอนแบบง่ายๆ เขาก็ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญกระจอก อย่างวุ้นนี่ ทางบ้านเราใช้วุ้นทำขนมธรรมดา แต่ต่างประเทศต้องใช้ Bacto-agar ซึ่งมันก็ไม่ยากเลย เราก็ซื้อวุ้นตราแม่นาคพระโขนง หรือตราจรวดอะไรก็ได้ ซองละ 43 บาท ตัดเอาซองทิ้ง เอาใส่ขวดแก้วสีชา แล้วก็ Label เป็นภาาาอังกฤษว่า Bacto-agar ปอนด์ละ 4-5 พันบาท ดังนั้น แต่ละหัวข้อกว่าจะสอนจบต้องใช้เวลานานมาก แทบทุกประเทศ 2-4 ปี ขณะที่เราก็ได้ค่าจ้างไปเรื่อยๆ นี่ก็จะตรงกับสิ่งที่คุณควรต้องทำที่ประเทศนี้ เพราะจริงๆแล้ว การลงทุนมันไม่เท่าไหร่ แต่กว่าเราจะรู้จนถึงวันนี้ ก็ใกล้จะลงโลงแล้ว ลงทุนทั้งเวลา ประสบการณ์มาตลอดชีวิต ดังนั้น การที่เราจะไปเปิดไต๋ให้เขารู้ว่าทำง่ายๆ ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก กับกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ต้องมีการที่จะเอื้ออาทรณ์กันเช่นนี้ และยังเห็ดของที่ถูกเป็นคงไร้ค่า ก็น่าจะเป็นโอกาสของคุณแหละ ที่จะเอาอะไรใส่เข้าไปตามหลักวิศวกรรมของคุณ เพื่อให้ดูแล้วมันต้อง 100 ล้านขึ้น ผมว่าไม่เลวน๊ะ เพราะแค่เห็ดแชมปิญองหรือเห็ดกระดุมอย่างเดียวมันปาไปที่ 400 ล้าน แต่ของเรานี้ มันทำได้เป็นสิบๆชนิด ส่วนเรื่องวัสดุเพาะหรืออะไรทำนองนั้น ผมว่า เล่นแบบสำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูปจากไทยไปเลย การทำถุงก็เอาแบบใช้เครื่องอัตโนมัติเลยก็ได้ เดี๋ยวนี้ที่จีนมีเยอะแยะ ราคาถูกดีด้วย แบบนี้แหละครับที่ทางยุโรปเขาทำกัน พอรู้อะไรหน่อย ก็เอามาแต่งตัวให้ดูดี แล้วขายเทคโนโลยีเป็นแพ็คเก็จ ราคาแพงๆ ผมว่า เราก็น่าจะทำเช่นนั้น ไม่ใช่ไปแบไต๋ให้เขารู้เสียหมด แล้วก็ไม่ได้อะไรเลย ดูอย่างญี่ปุ่นสิ เขามักจะส่งเสริมให้เราไปดูงานเขา ไปเรียนกับเขา พอเราจะเอาอะไรที่ลึกๆแล้ว จะต้องจ่ายเขาแทบทุกอย่าง และเขาจะเอาคนของเขามาควบคุมเองเสียด้วย โดยรัฐบาลของเขา จะเป็นคนป้อนงานที่สำคัญให้แก่เอกชน ตรงกันข้ามกับบ้านเรา ผมพัฒนาวิชา การเรื่องเห็ดมาเกือบตลอดชีวิต แต่พอจะเอามาขายเป็นเทคโนโลยี ปรากฎว่า ทางราชการเขาเปิดให้ไปดูหรือไปเรียนจากเขาฟรีๆ แล้วอย่างนี้ เอกชนก็ไปไม่รอด
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะนำการทำรูปแบบโรงเพาะเห็ดที่ประเทศโอมาน Empty เมล์ตอบเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2555 จากโอมาน

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Mon Apr 09, 2012 9:59 am

เห็นด้วยกับอาจารย์ทุกประการเลยครับ
ผมจะลองมานั่งออกแบบและทำแผนดูครับ
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สำหรับคำแนะนำดีๆครับ
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ