Anon Biotec web board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

เอ็นไซม์ ตอนที่ 10 สำหรับสัตว์

2 posters

Go down

เอ็นไซม์ ตอนที่ 10 สำหรับสัตว์ Empty เอ็นไซม์ ตอนที่ 10 สำหรับสัตว์

ตั้งหัวข้อ  Anonmushroom Sun Nov 21, 2010 8:27 pm

ความสำคัญของเอ็นไซม์ในอาหารสัตว์เลี้ยง

- หากเราพิจารณาอาหารที่ใช้เลี้ยงสุนัขก็จะพบว่า การเตรียมอาหารด้วยความร้อนที่เกิน 48 องศาเซลเซียส อุณหภูมิดังกล่าว จะไปทำลายคุณสมบัติของเอ็นไซม์อย่างหมดสิ้น จึงทำให้สุนัขได้รับเอ็นไซม์ที่ไม่เพียงพอ ดังนั้น จึงไม่แปลกที่สัตว์เลี้ยงของเราจะมีระบบการย่อยที่ด้อยประสิทธิภาพและอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยต่าง ๆ อันที่จริงแล้วสัตว์เลี้ยงไม่มีทางเลือกในอาหารแต่ละมื้อเลย
- สุนัขและแมวมีระบบการย่อยอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์ พวกมันต้องการเอ็นไซม์ที่จำเป็นต่อระบบการย่อยอาหาร เมื่อมนุษย์เราเกิดการเจ็บป่วย ก็สามารถที่จะพูดบอกได้ แต่สัตว์เลี้ยงไม่สามารถบอกได้ แต่มันจะแสดงให้เห็นได้จากอาการท้องผูก ท้องเสีย คันที่ผิวหนังและการผลัดขนจากกระทั่งก่อให้เกิดโรค มนุษย์แต่ละคนมีดีเอนเอ ที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์ สัตว์เลี้ยงเหล่านี้ก็เช่นกันแถมพกมาด้วยปัญหาอื่นๆ ที่พบบ่อย ๆ ในเฉพาะสายพันธุ์อีก
- ในปัจจุบันสัตวแพทย์พบว่า ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ของสัตว์เลี้ยงเกิดจากภาวะพร่องเอ็นไซม์ เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการใช้เอนไซม์บำบัดปลาวาฬและโลมา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหล่านี้ได้รับแต่ปลาแช่แข็งเป็นอาหาร และทั้งๆ ที่ได้รับการดูแลอย่างดีมันก็ยังเจ็บไข้ได้ป่วยและมีระดับภูมิคุ้มกันต่ำ รวมถึงเป็นโรคที่ปกติพบในสายพันธุ์ เราตื่นเต้นและดีใจมากที่ได้มีส่วนในการดูแลสุขภาพและให้การรักษา และพบว่าหลังจากให้เอ็นไซม์แทนยารักษาโรค จะมีการตอบสนองดีขึ้นมาก เอ็นไซม์ทำงานได้ผลตลอดกระบวนการย่อยอาหารไม่แตกต่างจากในมนุษย์เลย
- เอ็นไซม์ในอาหารที่สัตว์เลี้ยงกินเข้าไป จะไปทำงานร่วมกันเอ็นไซม์ที่มีอยู่แล้วในร่างกายของสัตว์เลี้ยง ถ้าอาหารไม่สามารถย่อยได้ตามปกติ ร่างกายก็จะไม่สามารถนำสารอาหารไปใช้ในการเสริมสร้างและซ่อมแซมอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงการสร้างพลังงาน และการเสริมประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- การที่เอ็นไซม์ช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย และขบวนการเผาผลาญพลังงานในเซลล์นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรานำอาหารไปใช้ได้โดยอย่างสมบูรณ์ เพราะหากเราไม่ได้รับเอ็นไซม์เสริมอาหาร ก็ยังคงถูกย่อยเป็นสารอาหารแก่ร่างกายแต่ประสิทธิภาพการย่อยจะไม่ถึงระดับสูงสุด แต่มันกับลดลงไปตามขั้นตอน ไม่แตกต่างกับการสุญเสียวิตามินในระหว่างปรุงอาหาร หรือผ่านขบวนการแปรรูปอาหาร
- การย่อยอาหาร เป็นขบวนการพื้นฐานที่เอ็นไซม์แต่ละชนิดย่อยสลายโปรตีนคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และเส้นใยอาหาร จากนั้นร่างกายจะใช้สารอาหารเหล่านี้บำรุงร่างกายให้มีสุขภาพดี
- มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า สัตว์ที่อยู่ในป่า จะเกิดโรคที่เกี่ยวกับการเสื่อมแบบเรื้อรังได้น้อยกว่าสัตว์เลี้ยง เนื่องจากมีแหล่งที่มาของอาหารที่มีเอ็นไซม์อุดมสมบูรณ์ ดังนั้น เมื่อเราให้อาหารที่ผ่านการปรุงให้สุก อาหารกระป๋อง อาหารแปรรูป หรือทำให้แห้ง แล้วนำไปเลี้ยงสัตว์ ขบวนการต่าง ๆ ในการทำให้อาหารสุกและแปรรูปอาหารเหล่านี้ได้ทำลายเอ็นไซม์ในอาหารจนหมดสิ้น ดังนั้นสัตว์เลี้ยงของเรา จึงต้องอาศัยเอ็นไซม์ในร่างกายเพื่อย่อยอาหารแต่เพียงอย่างเดียว ทำให้มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันเป็นอย่างมาก แต่เมื่อเราใส่เอ็นไซม์ลงไปในอาหารสัตว์เลี้ยง เอ็นไซม์ที่เหมือนกันจะไปกระตุ้นกระบวนการย่อยอาหาร ให้สามารถทำงานได้เหมือนอาหารที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนการปรุง โดยจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน
- เมื่อระบบเกี่ยวกับการย่อยอาหารไม่ดี ร่างกายจะเริ่มดึงเอ็นไซม์จากระบบภูมิคุ้มกัน มาใช้ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคที่รุนแรงหรือเจ็บป่วยได้ เพราะฉะนั้น การให้เอ็นไซม์เสริมในอาหารสัตว์เลี้ยงจะไปช่วยเสริมระบบการย่อยอาหารได้ดีขึ้น
- การขาดเอ็นไซม์ อาจจะทำให้กล้ามเนื้อลายมีการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุหลักของความไม่กระฉับกระเฉงของสุนัข การให้เอ็นไซม์เสริม จะสามารถบรรเทาอาการโรคข้ออักเสบ การเคลื่อนไหวไม่สะดวก เจ็บปวดและข้อบวม นอกจากนี้เรายังพบว่า เอ็นไซม์เสริมช่วยลดการบวมน้ำ จะเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยในสัตว์เลี้ยงอีกด้วย
- เอ็นไซม์โปรตีเอส จะย่อยอาหารในกลุ่มโปรตีน ในระหว่างมื้ออาหาร เอ็นไซม์โปรตีเอสจะย่อยสลายจากโมเลกุลใหญ่ไปเป็นกรดอะมิโน ทำให้แบคทีเรีย เศษเซลล์ พยาธิ เชื้อรา ที่เป็นโปรตีนโมเลกุลใหญ่ถูกย่อยสลายกลายเป็นสารละลาย และถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะอย่างรวดเร็ว
- เอ็นไซม์ไลเปส จะช่วยในการดูดซึมไขมันที่เหมาะสม หากได้รับในระหว่างมื้อ ร่างกายก็จะได้รับกรดไขมันที่จำเป็นเพื่อบำรุงชั้นผิวหนัง ขน และเนื้อเยื่อต่างๆ
- เอ็นไซม์อะไมเลส จะย่อยอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ถ้าการย่อยไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพลังงานได้ หากได้รับในระหว่างมื้อ จะช่วยควบคุมภาวการณ์อักเสบ
- เอ็นไซม์เซลลูเลสจะย่อยอาหารพวกเส้นใย หากได้รับในระหว่างมื้อจะช่วยควบคุมภาวะขาดสารอาหาร และความผิดปกติของลำไส้ได้

ตัวอย่างการรักษา
- ดร.จิม สมิธ เป็นสัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการรักษาทางด้านภูมิแพ้และโรคผิวหนัง ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยเอ็นไซม์และพบว่าผลการรักษาดีมากส่วนใหญ่เห็นผลภายใน 72 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของสัตว์เลี้ยง ดร.จิม กล่าวว่าตลอดเวลาที่ทำการรักษามาเขายังไม่เคยพบว่า มียาตัวใด จะให้ผลดีได้เหมือนการให้เอ็นไซม์โปรตีนเอสเพื่อรักษาโรคเรื้อน โรคกัดแทะเท้า โรคไร ปรสิตต่างๆ การติดเชื้อที่หูและอาการอื่นๆ อีกมากที่เขาพบในคลินิก ดร.จิม จึงเป็นผู้อบรมการใช้เอ็นไซม์บำบัดแก่สัตวแพทย์ทั่วไปด้วย
- สัตวแพทย์ได้มีการทดลองให้เอ็นไซม์อย่างต่อเนื่อง ในสัตว์ใหญ่เช่น ม้าและช้าง ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจ หมอจำนวนมากพูดถึงความเจ็บป่วยที่นำมาสู่สัตว์เลี้ยงกว่ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สัมพันธ์โดยตรงกับอาหาร และความไม่สมดุลย์ของโภชนาการ
- เอ็นไซม์มีผลต่อสุขภาพสัตว์ ไม่แตกต่างกับที่ใช้ได้ผลดีในมนุษย์ ถึงตอนนี้ ท่านคงได้รับทราบถึงประโยชน์ของเอ็นไซม์ต่อสุขภาพคนในครอบครัวและสัตว์เลี้ยงของท่านแล้ว แต่พึงระลึกไว้เสมอว่า การป้องกันเป็นวีธีดีที่สุด เพราะหากเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาแล้ว ท่านควรจะศึกษา หาความรู้และมองหาทางเลือกในการรักษาให้รอบด้าน
Anonmushroom
Anonmushroom

จำนวนข้อความ : 352
Join date : 05/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอ็นไซม์ ตอนที่ 10 สำหรับสัตว์ Empty Re: เอ็นไซม์ ตอนที่ 10 สำหรับสัตว์

ตั้งหัวข้อ  Ryuse Tue Dec 07, 2010 1:30 pm

เรียน อาจารย์ดร. อานนท์ เอื้อตระกูล

ปอง ภากร 2553/ L1/ 11 มีเรื่องอยากถามต่อหลังได้อ่านบทความนี้ครับ

เกี่ยวกับการใช้เอ็นไซม์ในสัตว์นี่ อิงจากที่อ.เคยพูดเมื่อครั้งที่ผมเข้าอบรมทั้งเห็ดขอนไม้และเห็ดในถุงพลาสติก
ขอถามเจาะจงเลยว่า เอ็นไซม์ในเห็ดนางฟ้าภูฏาน หลักๆแล้วช่วยในเรื่องอะไรหรือครับ? รวมถึงว่าปริมาณที่จะใช้ผสมไปกับอาหารสัตว์ (สมมติที่100 กิโลกรัม) ควรใช้มากน้อยแค่ไหน?

ผมเห็นว่าสิ่งนี้น่าจะเป็นตัวช่วยให้บริษัทผมเปิดช่องทางด้านการตลาดในเรื่องเห็ดไปสุ่กลุ่มคู่ค้าที่ทำเกี่ยวกับฟาร์มปศุสัตว์ได้อีกทาง เพราะปัจจุบันฟาร์มหลายแห่งมีการนำเอ็นไซม์สกัดมาใช้ควบคู่กับการดูแลผลผลิตของพวกเขาด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ราคาเอ็นไซม์สกัดก็ใช่ย่อย ผมเลยคิดว่าข้อดีของเอ็นไซม์ในเห็ดน่าจะเป็นแรงจูงใจให้พวกเขาหันมาสนใจตัวผลิตผลของผมได้มากขึ้น รวมถึงพวกเขาเองก็มีโอกาสลดต้นทุนไปในตัวด้วย

ขอบคุณล่วงหน้าครับ
Ryuse
Ryuse

จำนวนข้อความ : 16
Join date : 20/10/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอ็นไซม์ ตอนที่ 10 สำหรับสัตว์ Empty คุณกำลังสนใจเรื่องเอ็นไซม์ที่น่าจะช่วยให้คุณทำธุรกิจทางด้านปศุสัตว์ดีขึ้นแน่ แต่คุณยังไม่เข้าใจเรื่องเอ็นไซม์ดีพอ

ตั้งหัวข้อ  Anonmushroom Sun Dec 12, 2010 11:23 pm

ผมว่าคุณคิดถูกแล้ว ที่สามารถมองการณ์ไกลว่า เอ็นไซม์น่าจะช่วยทำให้คุณขยายธุรกิจเพิ่มไปในด้านปศุสัตว์ได้เป็นอย่างดี ดังที่คุณทราบเป็นอย่างดีว่า มีการนำเอาเอ็นไซม์มาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์กันอย่างกว้างขวาง เพราะเอ็นไซม์ สามารถทำให้สัตว์แข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดี ต่อสู้หรือทนต่อการเป็นโรค ระบบการย่อยดี การติดลูกมีเปอร์เซ็นต์สูงขึ้น ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ จึงนิยมใช้เอ็นไซม์ที่มีประโยชน์ผสมเข้าไปในอาหารสัตว์ด้วย เอ็นไซม์ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับสัตว์ หรือคน ส่วนใหญ่ จะต้องนำมาจากต่างประเทศ หรือจากชาวต่างประเทศมาทำฐานการผลิตในเมืองไทย เพื่อขายให้คนไทย ที่ถือว่า เป็นตลาดที่ใหญ่มาก เพื่อนผม ซึ่งเป็นคณบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ไต้หวัน ได้ทำการผลิตเอ็นไซม์จากเห็ดถั่งเช่าสีทอง เพื่อใช้เพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ปศุสัตว์ทั้งหลาย และช่วยเพิ่มสมรรถนะทางเพศ ทำให้สัตว์เป็นสัดเร็วขึ้น ตัวผู้จะสามารถผสมพันธุ์ตัวเมียได้จำนวนมากขึ้น และมีความแข็งแรงที่จะใช้เป็นพ่อพันธุ์ได้นานเพิ่มขึ้น เช่น พ่อพันธุ์สุกร ปกติจะมีประสิทธิภาพในการผสมพันธุ์แค่ 2 ปี แต่พอให้เอ็นไซม์จากเห็ดถั่งเช่าสีทอง พบว่า สามารถใช้เป็นพ่อพันธุ์ได้นานถึง 4 ปี เพื่อนผมดังกล่าว ได้คุยให้ผมฟังว่า เขาได้ผลิตเอ็นไซม์ดังกล่าวจากเห็ดถั่งเช่าสีทอง และขายให้บริษัทขนาดใหญ่ทางด้านปศุสัตว์หลายแห่ง เป็นเงินปีละหลายร้อยล้านบาท ผมว่าคุณก็อาจจะทราบข่าวคราวเรื่องนี้ดี แต่เท่าที่ดูจากคำถามคุณ ทำให้ทราบว่า คุณยังไม่เข้าใจดีเรื่องของเอ็นไซม์ เพราะสิ่งมีชีวิตบางอย่าง เช่น ที่คุณถามว่า เห็ดนางฟ้าภูฎานมีเอ็นไซม์ที่จะช่วยเสริมเข้าไปในอาหารสัตว์หรือไม่อย่างไร ปริมาณเท่าไหร่นั้น ก็ขอตอบว่า ในตัวดอกเห็ดเอง ปริมาณเอ็นไซม์ที่มีอยู่ในดอกเห็ดนั้นมีไม่มาก แต่มีเพียงพอที่จะย่อยสลายตัวเอง ที่เราเรียกว่า มีเอ็นไซม์คาเธปซิน(Cathepsins) นั่นเอง ดังนั้น หากคุณจะใช้ดอกเห็ดผสมเข้าไปในอาหารสัตว์นั้น ไม่ใช่ใส่เพื่อเราต้องการเอ็นไซม์จากเห็ด เพียงแต่ต้องการคุณสมบัติทางยาจากเห็ดเท่านั้นเป็นสำคัญ ส่วนเรื่องของเอ็นไซม์นั้น จะต้องได้มาจากการใช้เชื้อจุลินทรีย์เฉพาะ ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเอ็นไซม์ที่ออกมาข้างนอก หรือที่เรียกว่า Exoenzymes โดยเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด อาจสามารถสร้างเอ็นไซม์ได้เป็นหมื่น เป็นแสน หรือเป็นล้านเท่าของคนหรือสัตว์สร้างได้ โดยใช้ระยะเวลาที่สั้นมาก เพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ผมว่า ตรงนี้สิ น่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับคุณ หรือสำหรับสมาชิกของเราทุกคน เพราะส่วนใหญ่ มักคิดว่า การผลิตเอ็นไซม์นั้น เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก มีเฉพาะชาวต่างชาติเท่านั้นที่ทำได้ จริงๆแล้ว การผลิตเอ็นไซม์เป็นเรื่องที่ง่ายมาก ง่ายกว่า การทำเชื้อและเพาะเห็ดมาก และคนไทยก็ทำเอ็นไซม์เก่งที่สุดอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่รู้ตัวว่า สิ่งที่เราทำนั้น คือ การผลิตเอ็นไซม์ชั้นดี แต่เรากลับละเลยสิ่งนี้ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เอาสิครับ คุณเข้าไปคุยกับผมที่ www.anonworld.com สิ จะได้คุยกันอย่างละเอียดเลยว่า การผลิตเอ็นไซม์เป็นการค้าทำอย่างไร เพื่อนผมบางคน มุ่งหน้าผลิตเอ็นไซม์ให้แก่คนเพียงไม่กี่ปี รวยไม่รู้เรื่องเลยครับ แล้วเราเจอกันที่นั่นครับ
Anonmushroom
Anonmushroom

จำนวนข้อความ : 352
Join date : 05/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

เอ็นไซม์ ตอนที่ 10 สำหรับสัตว์ Empty Re: เอ็นไซม์ ตอนที่ 10 สำหรับสัตว์

ตั้งหัวข้อ  Ryuse Wed Dec 15, 2010 11:52 am

ขอบคุณครับ อาจารย์อานนท์ คำอธิบายของอ.ช่วยผมคิดแผนได้รอบคอบมากขึ้นครับ

ตอนนี้ก็กำลังตามไปที่เวปอานนท์เวิร์ลอยู่ครับ

ถ้ามีความคืบหน้าอะไรอีก จะรีบมารายงานให้ฟังครับ Very Happy
Ryuse
Ryuse

จำนวนข้อความ : 16
Join date : 20/10/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ