Anon Biotec web board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง

3 posters

Go down

ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง Empty ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง

ตั้งหัวข้อ  lek lekkey Sat Feb 18, 2012 3:01 pm

เรียนท่านอาจารย์
ผมซื้อ จุลินทรีย์ ยูเอ็ม 92 เกรดสำหรับทานได้ มาจากร้าน anonbiotec ตลาดไท จุดประสงค์เพื่อจะนำมาทำน้ำเอ็นไซม์ ไว้ทานเองและ ให้คุณแม่(อายุ65 ปี)ทาน เพื่อบำรุงสุขภาพ ผมขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ เกี่ยวกับวิธีทำ น้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ ยูเอ็ม 92 ที่ถูก ต้องว่าควรทำอย่างไร ครับ
ไม่แน่ใจว่าคำถามของผมอาจจะกว้างไป เบื้องต้นผมคิดจะนำ จุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 มาผสมกับน้ำผึ้ง ,น้ำสุก ทิ้งไว้ 24 ชม แล้วจึงนำมาทานก่อนอาหาร เป็นวิธีการที่ถูกต้องใหมครับ

ขอบคุณครับ สมาชิกเลขที่ P100/038

lek lekkey

จำนวนข้อความ : 13
Join date : 30/12/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง Empty การทำเอ็นไซม์จากเชื้อยูเอ็ม 92 เพื่อนำมาใช้ทานเอง

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Tue Feb 21, 2012 12:00 am

คำถามของคุณเป็นคำถามที่ดลใจที่สุด เป็นคำถามที่รอมานานแล้วว่า เมื่อไหร่หนอจะมีคนถามเรื่องพรรค์อย่างนี้สักที ก็ต้องขอขอบคุณครับที่ถามเรื่องนี้ ผมต้องใช้เวลานานถึง 2 วัน และไม่ได้ตอบทันที ก็เพราะเป็นเรื่องที่ผมจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องจาก ดร.อานนท์ ด้วยการซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อจะได้ความกระจ่างที่สุด เพื่อประโยชน์ต่อบรรดาแฟนฟอรั่มทั้งหลาย ทั้งนี้เนื่องจากระยะนี้ ข่าวคราวเรื่องของเอ็นไซม์ถูกนำมากล่าว มาอ้าง มาใช้กันจากหลายสื่อ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจเลยว่าจริงๆแล้ว เอ็นไซม์คืออะไร มันมีความสำคัญอย่างไร แล้วเอ็นไซม์มันเกิดมาอย่างไร ทำงานอย่างไร ปัจจัยอะไรที่ทำให้เอ็นไซม์เสื่อม ปัจจัยอะไรที่ทำให้เราขาดเอ็นไซม์ ปัจจัยอะไรที่ทำให้การทำงานของเอ็นไซม์เป็นไปอย่างดี มีประสิทธิภาพ ด้วยความไม่รู้ ไม่เข้าใจ พอเขาพูดคำว่า เอ็นไซม์ ได้ยินได้ฟังผ่านหูทุกวัน กลายเป็นความเคยชิน ก็เลยพูดเรื่องเอ็นไซม์กับเขาไปด้วย โดยเนื้อแท้แล้ว ไม่รู้เลยว่าแท้จริงมันคืออะไร มันทำงานอย่างไร ยิ่งใครได้ดูรายการหมักเพื่อลดโลกร้อนของ ป้าเช็ง ที่แทบจะทุกบ้านทุกช่องทั่วประเทศก็หลับหูหลับตาหมักอะไรต่ออะไรตามป้าเช็งไปอย่างไม่ลืมหูลืมตา ระยะหลังป้าเช็งก็ทันสมัยกับคนอื่นเขาว่า หมักไปหมักมาก็จะได้เอ็นไซม์ ก็เลยทำให้เอ็นไซม์กลายเป็นพระเจ้า กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ กลายเป็นสิ่งวิเศษที่ดลบรรดาอะไรก็ได้ที่เราต้องการ ซึ่ง หากปล่อยให้สังคมที่รู้แบบครึ่งๆกลางๆ หรือแบบงูๆปลาๆเช่นนี้ มันจะสร้างความสับสนและผลสุดท้าย ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาเกิดขึ้นได้ วันนี้ จึงขอกล่าวโดยย่อยว่า
เอ็นไซม์ คือ โปรตีนชนิดหนึ่ง ที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่จับกันเป็นลูกโซ่ยาว(Peptide bond) และอาจจะมีบางส่วนที่อาจจะไม่ใช่โปรตีนเกาะเกี่ยวอยู่ในลูกโซ่นี้ โดยเอ็นไซม์จะทำหน้าที่ ควบคุมขั้นตอนต่างๆของปฎิกิริยาเมทตาบอลิซั่ม เอนไซม์บางชนิด จะเร่งปฏิกิริยาได้เมื่อมีโครงสร้างที่ไม่ใช่โปรตีนมาเกี่ยวข้อง ซึ่งมักจะเรียกว่า โคแฟคเตอร์ ซึ่งอาจจะเป็นอิออนของโลหะ เช่น Mg+2 Fe+2 Cu+2 K+ Na+ หรือ โมเลกุลของสารอินทรีย์ ซึ่งเรียกว่า โคเอนไซม์ เช่น NADP FAD FMN หรือ ATP โคแฟคเตอร์มักจะทนต่อความร้อนได้ ในขณะที่เอนไซม์จะหมดสภาพเมื่อได้รับความร้อน ส่วนประกอบที่ประกอบด้วยโคแฟคเตอร์และเอนไซม์นี้รวมเรียกว่า โฮโลเอนไซม์ (Holoenzyme)
กลไกในการทำงานของเอนไซม์
ในการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีนั้น โมเลกุลที่จะเข้าสู่ปฏิกิริยาได้ ตามปกติจะต้องมี พลังงานสูง ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะมีพลังงานสูงขึ้นได้ ในบางครั้งโดยการชนกันของโมเลกุล นอกจากนั้นการเพิ่มอุณหภูมิให้กับสารเคมีจะทำให้จำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานสูงเพิ่มขึ้นมาก จึงทำให้โมเลกุลเกิดการชนกันมากขึ้น ปฏิกิริยาจึงเกิดเร็วในการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีนั้นถ้าไม่มีอุณหภูมิสูงเข้ามา เกี่ยวข้อง เอนไซม์จะช่วยเพิ่มอัตราการเกิดปฏิกิริยาให้เร็วขึ้นได้
ในการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั้น สารเริ่มต้นจะต้องเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งในการเปลี่ยนนี้จะต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งเรียกว่า Energy of Activation การเพิ่มอุณหภูมิจะเพิ่มจำนวนโมเลกุลที่มีพลังงานสูงขึ้น ทำให้โมเลกุลอยู่ในสภาพที่เรียกว่า Transition state ซึ่งเป็นสภาพที่ chemical bond ของโมเลกุลจะแตกออกเพื่อสร้างโมเลกุลของผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ ส่วนเอนไซม์จะลดความต้องการ Energy of Activation ลง ซึ่งก็คือเพิ่มจำนวนโมเลกุลที่จะทำปฏิกิริยาได้ให้มากขึ้น การที่เอนไซม์ทำให้ Energy of Activation ลดลงได้นี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจเด่นชัดนัก แต่พอจะทราบว่าเอนไซม์จะรวมตัวกับสารเริ่มต้นเกิดเป็น เอนไซม์-สารเริ่มต้น (Enzyme-Substrate Complex) ซึ่งการเกิดเอนไซม์-สารเริ่มต้น เกาะกันขึ้นมานี้ ทำให้แขนที่เกาะกันของสารเริ่มต้นหัก แล้วเกิดการจับกันใหม่เป็นผลิตภัณฑ์ได้เร็วกว่าการไม่ใช้เอนไซม์
อัตราเร่งปฏิกิริยาทางเคมีจะเพิ่มขึ้นได้สองทาง ได้แก่ การเพิ่มอุณหภูมิ เนื่องจากอุณหภูมิเพิ่มพลังงานให้แก่โมเลกุลของสารเริ่มต้นปฏิกิริยาให้อยู่ใน transition state ปฏิกิริยาหลายปฏิกิริยามีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10 องศาเซลเซียส อีกทางหนึ่งในการเพิ่มอัตราเร่งของปฏิกิริยาได้แก่ การเติมตัวเร่งหรือคะตะไลซ์ (catalyst) ตัวเร่งนี้จะรวมตัวกับสารเริ่มต้นปฏิกิริยาให้อยู่ในสภาพ transition state ซึ่งต้องการพลังงานน้อยกว่าตอนที่ไม่มีตัวเร่ง ดังนั้นตัวเร่งจะทำความต้องการพลังงานลดลง
ในการเกิด เอนไซม์-สารเริ่มต้น นี้มีสมมุติฐานอธิบายอยู่ 2 ความคิดด้วยกัน คือ
1. สมมุติฐาน แม่กุญแจและลูกกุญแจ (Lock and Key) อธิบายโดย Emil Fischer ในปี ค.ศ. 1884 ว่า โครงสร้างการเกิด เอนไซม์-สารเริ่มต้นนี้ จะเป็นโครงสร้างที่ไม่ยืดหยุ่น โดยที่ เอนไซม์โมเลกุลจะมีส่วนหนึ่งที่จะรวมกับสารเริ่มต้นได้ ทำให้สารเริ่มต้นเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งส่วนนั้นเรียกว่า Active Site และส่วนนี้เป็นส่วนที่ไม่ยืดหยุ่น และมีความเฉพาะเจาะจงต่อสารเริ่มต้น จึงเป็นการยากที่จะอธิบายถึงการเกิดปฏิกิริยาผันกลับ (Reversibility) เนื่องจากผลิตภัณฑ์จะไม่สามารถรวมกับ Active Site ของเอนไซม์ได้ เพราะโครงสร้างต่างจากสารเริ่มต้น
2. สมมุติฐาน Induced-fit อธิบายในปี ค.ศ. 1973 โดย D.F. Koshland ว่า Active Site ของเอนไซม์สามารถถูกเหนี่ยวนำให้เปลี่ยนรูปร่างได้ เมื่ออยู่ใกล้กับสารเริ่มต้นหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อจะได้รวมกับสารเริ่มต้นหรือผลิตภัณฑ์ก็ได้ นอกจากเอนไซม์จะเปลี่ยนรูปร่างแล้ว โครงสร้างของสารเริ่มต้นก็เปลี่ยนไปด้วย เพื่อจะได้พอดีกับ Active Site ของเอนไซม์
แม้ว่าจะมีจำนวน เอนไซม์-สารเริ่มต้น ที่ได้รับการศึกษาไม่มากนัก แต่ก็เป็นที่เข้าใจกันว่าแขนที่จะเกาะกันของเอนไซม์-สารเริ่มต้นนั้นอาจจะเป็น โควาเลนท์ (Covalent) ไอออนนิค (Ionic) ไฮโดรเจน (Hydrogen) หรือ แวน เดอ วัลส์ (Van der Waals) ก็ได้ แขนแบบโควาเลนท์และไอออนนิค เป็นแขนที่สำคัญที่สุดสำหรับการเกิดปฏิกิริยา แต่ถึงแม้ว่าแขนแบบโควาเลนท์ ซึ่งแข็งแรงจะเกิดขึ้นมา แต่ตามปกติก็จะหักอย่างรวดเร็วแล้วก็ให้ผลิตภัณฑ์ออกมา
การเสื่อมสภาพของเอนไซม์ (Denaturation)
เมื่อโครงสร้างของเอนไซม์เปลี่ยนไปจนสารเริ่มต้นรวมกับเอนไซม์ที่ Active Site ไม่ได้ จะทำให้คุณสมบัติในการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์หมดไป ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดการหมดสภาพของเอนไซม์ มีหลายกรณีที่เมื่อเอนไซม์เกิดการเสื่อมสภาพไปแล้ว ไม่สามารถจะกลับคืนมาสู่สภาพที่ทำงานได้อีก เช่น กรณีที่ได้รับอุณหภูมิสูงทั้งนี้เพราะอุณหภูมิสูงจะทำให้เกิดการสร้างแขนชนิด โควาเลนท์ระหว่างลูกโซ่ โพลีเพปไทด์ (Polypeptide chain) หรือในลูกโซ่โพลีเพปไทด์เดียวกัน และแขนเหล่านี้จะมีความคงตัวมากจนไม่สามารถทำให้แตกหักได้
ดังนั้น ในการสกัดเอนไซม์ออกจากพืช หรือการทำให้เอนไซม์บริสุทธิ์ จึงมักต้องทำใน ที่ ๆ มีอุณหภูมิต่ำ เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของเอนไซม์จากความร้อน ทั้ง ๆ ที่ถ้าเอนไซม์อยู่ในเซลล์อาจจะทนต่ออุณหภูมิสูงระดับหนึ่งได้ แต่เมื่อสกัดออกจากเซลล์ความทนทานต่ออุณหภูมิสูงจะลดลง ซึ่งยังไม่เข้าใจนักว่าเป็นเพราะเหตุใด แต่คาดกันว่าอาจจะเป็นเพราะในระหว่างการสกัดเอนไซม์นั้นได้กำจัดสารป้องกันเอนไซม์ออกไปหรืออาจทำให้สารดังกล่าวเจือจางลง
ออกซิเจน และสารที่เป็นสารออกซิไดซ์สามารถทำให้เอนไซม์หลายชนิดเสื่อมสภาพได้ โดยมักจะทำให้เกิดไดซัลไฟด์ บริดจ์ (Disulfide Bridges) ในลูกโซ่โพลีเพปไทด์ที่มี -SH ของกรด อะมิโน ซีสตีอีน (Cysteine) สารรีดิวซ์สามารถทำให้เอนไซม์เสื่อมสภาพได้ในเหตุผลตรงกันข้ามคือ จะไปทำลายไดซัลไฟด์ บริดจ์ เกิดเป็น -SH 2 กลุ่ม นอกจากนั้นโลหะหนัก เช่น Ag+ Hg+2 และ Pb+2 ก็สามารถทำให้เอนไซม์เสื่อมสภาพได้เช่นกัน
ในสภาพที่แห้ง เอนไซม์จะมีความคงทนต่ออุณหภูมิสูงดีกว่าในสภาพที่มีน้ำมาก และด้วยเหตุนี้เมล็ดที่แห้งหรือสปอร์ของเชื้อราและแบคทีเรียที่แห้ง จึงต้านทานต่ออุณหภูมิสูง ดังนั้นในการฆ่าสปอร์ของเชื้อราและแบคทีเรีย การใช้ความร้อนชื้นจากหม้อนึ่งอัดไอน้ำ จึงมีประสิทธิภาพดี นอกจากนั้นในสภาพที่แห้งเมล็ดและสปอร์ที่แห้งยังทนต่ออุณหภูมิต่ำในระหว่างฤดูหนาวได้ดีเช่นกัน
ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์
1. ความเข้มข้นของเอนไซม์และสารเริ่มต้น การเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ จะต้องมีการรวมตัวกันของ เอนไซม์-สารเริ่มต้น อัตราเร็วของปฏิกิริยาจะขึ้นอยู่กับจำนวนการชนกันของโมเลกุลทั้งสอง ถ้ามีสารเริ่มต้นพอเพียง เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของเอนไซม์เป็นสองเท่าจะทำให้อัตราเร็วเพิ่มขึ้นไปเป็น 2 เท่าด้วย แต่เมื่อมีการเพิ่มปริมาณเอนไซม์ต่อไปเรื่อย ๆ อัตราการเกิดปฏิกิริยาเป็นแนวระนาบเพราะสารเริ่มต้นเริ่มหมดไป ทำให้เป็นตัวจำกัดการเกิดปฏิกิริยาได้ อัตราเร็วของการเกิดปฏิกิริยาขึ้นอยู่กับการชนกันของโมเลกุล ซึ่งจะชนกันมากขึ้นเมื่อปริมาณเอนไซม์หรือสารเริ่มต้นมากขึ้น
อัตราการเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวข้างต้นนั้น ถ้าให้เอนไซม์เป็นตัวคงที่และเพิ่มปริมาณสารเริ่มต้นขึ้นเรื่อยๆ นั้น ปฏิกิริยาได้เป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 อัตราเร็วของปฏิกิริยาเป็นสัดส่วนโดยตรงต่อความเข้มข้นของสารเริ่มต้น
ระยะที่ 2 อัตราเร็วของปฏิกิริยาเริ่มลดลงเนื่องจากปริมาณของเอนไซม์เริ่มเป็นตัวจำกัด
ระยะที่ 3 อัตราเร็วถึงจุดอิ่มตัว
Km หรือ Michaelis-MentenConstant คือค่าความเข้มข้นของสารเริ่มต้นที่ทำให้อัตราเร็วของปฏิกิริยาเป็นครึ่งหนึ่งของความเร็วสูงสุด ค่า Km สามารถบ่งบอกถึงความเร็วในการรวมตัวของเอนไซม์และสารเริ่มต้น เช่น ถ้าเปรียบเทียบสารเริ่มต้นสองชนิด ว่าชนิดใดจะรวมตัวกับเอนไซม์ได้ดีกว่านั้นสามารถดูจากค่า 1/ Km
ถ้าสารเริ่มต้นชนิดที่ 1 มีค่า km = 0.25 M
และสารเริ่มต้นชนิดที่ 2 มีค่า km = 0.4 M

พบว่าค่า 1/ Km ของสารที่ 1 = 4 และ 1/ Km ของสารที่ 2 = 2.5

แสดงว่า สารเริ่มต้นชนิดที่ 1 จะรวมตัวกับเอนไซม์ได้ดีกว่าสารเริ่มต้นชนิดที่ 2

ค่า Km ขึ้นอยู่กับชนิดของโคเอนไซม์ ความเป็นกรดด่างและอุณหภูมิ ค่า Km ของเอนไซม์ที่พบในปัจจุบันอยู่ในช่วง 10-3 ถึง 10-7 M ถ้าเอนไซม์ชนิดเดียวกันสามารถทำปฏิกิริยาได้กับสารเริ่มต้น 2 ชนิด ค่า Km ของเอนไซม์จะต่างกันตามชนิดของสารเริ่มต้นด้วย การที่ค่า Km ต่ำแสดงให้เห็นว่าเอนไซม์-สารเริ่มต้น จะค่อนข้างอยู่ตัว หรือนั่นคือถ้ามีสารเริ่มต้นสองชนิดที่คล้ายกันเอนไซม์จะเข้าทำปฏิกิริยากับสารเริ่มต้นซึ่งมีค่า Km ต่ำ

2. ความเป็นกรดด่าง (pH) pH ของสารละลายจะมีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาของเอนไซม์ในหลายด้านตามปกติเอนไซม์แต่ละชนิดจะมี pH ที่เหมาะสมในการทำงาน ซึ่งการทำงานของเอนไซม์จะลดลงเมื่อ pH สูงหรือต่ำกว่า pH ที่เหมาะสม pH ที่เหมาะสมของเอนไซม์ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 6-8 การที่ pH สูงมากหรือต่ำมาก จะทำให้เอนไซม์เสื่อมสภาพ
เนื่องจากเอนไซม์ประกอบด้วยกลุ่ม (อะมิโน) และ (คาร์บอกซิล) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประจุของไฮโดรเจนไอออนในสารละลาย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
pH ลดลง - NH2 กลายเป็น - NH3+
pH เพิ่มขึ้น - COOH กลายเป็น - COO-
pH อยู่ที่ isoelectric point
- NH2 ยังคงเป็น - NH2
- COOH ยังคงเป็น - COOH

นอกจาก pH จะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของเอนไซม์แล้ว pH ยังมีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาอีก 2 ทาง คือ

2.1 กิจกรรมของเอนไซม์จะขึ้นอยู่กับการปรากฏของกลุ่มอะมิโน และกลุ่ม คาร์บอกซิล ซึ่งทั้ง 2 กลุ่มอาจจะมีประจุหรือไม่มีประจุก็ได้ แต่เอนไซม์จะทำงานได้ดีเพียงเมื่อกลุ่มทั้ง 2 มีประจุหรือไม่มีประจุแล้วแต่ชนิดของเอนไซม์ ถ้าเอนไซม์ทำงานได้ดีเมื่อกลุ่มอะมิโนไม่มีประจุ pH ที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้มักจะสูง ในขณะที่ถ้าเอนไซม์ทำงานได้ดี เมื่อคาร์บอกซิลเป็นกลาง pH ที่เหมาะสมจะต่ำ

2.2 pH ควบคุมการแตกตัวของสารเริ่มต้น ซึ่งมีหลายปฏิกิริยาต้องเกิดการแตกตัวของสารเริ่มต้นก่อน ปฏิกิริยาจึงจะดำเนินต่อไปได้

3. อุณหภูมิ การเพิ่มอุณหภูมิจะทำให้พลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นด้วย อัตราการเพิ่มความเร็วของปฏิกิริยาคำนวณได้จากค่า Q10 หรือ Temperature Quotient ค่า Q10 ของเอนไซม์มักจะมีค่ามากกว่า 1 ขึ้นไป

Q10 = อัตราเร็วของปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ X ํ + 10 ํC

อัตราเร็วของปฏิกิริยาที่อุณหภูมิ X ํC

4. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น (Reaction product) อัตราการเกิดปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยานั้น สามารถวัดได้จากอัตราการหายไปของสารเริ่มต้นหรืออาจจะวัดจากการปรากฏขึ้นของผลิตภัณฑ์ หรือทำทั้ง 2 วิธีพร้อมกัน แต่ไม่ว่าจะวัดโดยวิธีใด จะพบว่าอัตราเร็วของปฏิกิริยาจะช้าลงเมื่อเวลาผ่านไป อัตราเร็วของปฏิกิริยาที่เกิดช้าลงนี้ เป็นเพราะเกิดการเสื่อมสภาพของเอนไซม์ นอกจากนั้นยังเกิดเพราะมีการลดลงของสารเริ่มต้น และผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้น เมื่อความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์มากขึ้น จนถึงความเข้มข้นหนึ่ง อาจจะทำให้เกิดปฏิกิริยาผันกลับ (Reversibility) โมเลกุลของ ผลิตภัณฑ์จะรวมกับเอนไซม์แทนสารเริ่มต้นทำให้ปฏิกิริยาถูกจำกัดได้
5. สารระงับการทำงานของเอนไซม์ (Inhibitors) มีสารหลายชนิดที่สามารถระงับการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ได้ สารเหล่านี้อาจจะเป็นสารอนินทรีย์ เช่น โลหะหนักต่าง ๆ หรืออาจจะเป็นสารอินทรีย์ เช่น สารประกอบฟีโนลิค (Phenolic) หรือโปรตีน แต่อย่างไรก็ตามสารเหล่านี้แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

5.1 Competitive Inhibitor เป็นสารชะงักการทำงานของเอนไซม์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับสารเริ่มต้นมาก และเข้าแย่งทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ ที่ Active Site ของเอนไซม์ เมื่อเกิดการรวมกันเป็นเอนไซม์-สารชะงัก (Emzyme-Inhibitor) จะทำให้ปริมาณของเอนไซม์ลดลง ทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง สารชะงักเหล่านี้อาจจะเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนไปก็ได้ การเพิ่มปริมาณของสารเริ่มต้นให้มากขึ้นจะลดผลของ Competitive Inhibitor ได้ ตัวอย่างของ Competitive Inhibitor คือ การที่มาโลเนท (malonate) แย่งทำปฏิกิริยากับ succinate dehydrogenase ซึ่งเอนไซม์ชนิดนี้ปกติจะทำปฏิกิริยากับ succinate ได้ fumarate ซึ่งปรากฏในการหายใจ ซึ่งเมื่อ malonate รวมกับเอนไซม์แล้วทำให้การหายใจเกิดไม่ได้

5.2 Non competitive Inhibitor สารชะงักการทำงานของเอนไซม์ชนิดนี้จะเข้ารวมกับเอนไซม์แต่จะไม่รวมที่ Active Site สารพวกนี้มีลักษณะต่างจากสารเริ่มต้น การเพิ่มปริมาณของสารเริ่มต้นจะไม่สามารถลบล้างผลของสารเหล่านี้ได้ โลหะที่เป็นพิษทั้งหลาย และสารที่รวมหรือทำลาย กลุ่มซัลฟ์ไฮดริล มักจะเป็นสารในกลุ่มนี้ เช่น การที่มีออกซิเจนมาก จะทำให้ -SH ถูกออกซิไดซ์ เกิดไดซัลไฟด์ บริดจ์ขึ้นมา ซึ่งทำให้โครงสร้างของเอนไซม์เปลี่ยนไป ทำให้ Active Site รวมกับสารเริ่มต้นไม่ได้ ส่วนโลหะ เช่น Hg+2 และ Ag+ จะเข้าแทนที่ไฮโดรเจนอะตอมของกลุ่มซัลฟ์ไฮดริล เกิดเป็น เมอแคบไทด์ (Mercaptides) ซึ่งไม่ละลายน้ำ

5.3 Uncompetitive Inhibitor สารชะงักการทำงานของเอนไซม์ ชนิดนี้ไม่รวมกับเอนไซม์อิสระ และไม่มีผลกระทบต่อปฏิกิริยาของเอนไซม์ และสารเริ่มต้น แต่จะเข้ารวมกับ เอนไซม์-สารเริ่มต้น ทำให้ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาต่อไปได้ การชะงักการทำงานของเอนไซม์จะเพิ่มขึ้นเมื่อมีสารเริ่มต้นมากขึ้น สารชะงักชนิดนี้มักจะพบในปฏิกิริยาซึ่งมีสารเริ่มต้นสองชนิด


เมื่อคุณได้เข้าใจถึงเรื่องเอ็นไซม์แล้ว คุณพึงจะทราบเป็นอย่างดีว่ามันทำงานอย่างไร มันเสื่อมสมรรถภาพลงด้วยสาเหตุอะไร การที่คุณจะทำเอ็นไซม์เพื่อใช้ทานนนั้น คุณก็จะต้องตั้งเป้าเสียก่อนว่า คุณขาดหรือต้องการเอ็นไซม์อะไรเข้าไปเพิ่มเติมให้แก่ร่างกาย หรือ หากคุณต้องการทานเข้าไป เพื่อรักษาระดับเอ็นไซม์ในร่างกายให้มันอยํู่ในเกณฑ์ที่พอเหมาะพอดี คุณจะต้องรู้เสียก่อนว่า เอ็นไซม์ที่ร่างกายต้องการนั้น มันมีมากกว่า 2800 ชนิด เนื่องจากสารอาหารแต่ละชนิดที่ร่างกายต้องการนั้น ก่อนที่จะถูกนำเข้าไปในร่างกายนั้น จะต้องถูกทำให้เล็กลงหรืออยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถนำเอาไปใช้ได้เสียก่อน ซึ่งขบวนการนี้ เอ็นไซม์จะมีส่วนสำคัญในการเร่งปฎิกิริยา หากแม้ว่า เรามีสารอาหารที่ทานเข้าไปเพียงพอ แต่ร่างกายไม่มีเอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยสารอาหารนั้นๆ สารอาหารดังกล่าวก็จะไม่สามารถถูกนำเอาไปใช้ได้ ดังนั้น การที่คุณจะใช้เชื้อจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 หมักกับน้ำผึ้งและน้ำสุกหมักไว้ 24 ชม.นั้น ถือว่า เป็นการผลิตเอ็นไซม์ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้เพราะจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 จะสร้างเอ็นไซม์ย่อยสารอาหารที่มีอยู่ในน้ำผึ้ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลหลายชนิด รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่บางชนิด และการที่เราหมักในระยะเวลา 24 ชม. นั้น ถือว่า เป็นช่วงเวลาที่พอเหมาะที่จะมีการสร้างเอ็นไซม์ที่มีประโยชน์อยู่ในเกณฑ์ที่สูง ดังนั้น น้ำหมักที่ได้จากการใช้น้ำผึ้งดั่งที่คุณว่านั้น จึงเหมาะสำหรับ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับน้ำตาลสูงในเลือด หรือเบาหวาน แต่หากคุณต้องการที่จะได้เอ็นไซม์อย่างอื่นด้วย คุณก็จะต้องใช้สารอาหารอย่างอื่นเป็นวัตถุดิบในการหมักด้วย แล้วจุลินทรีย์ ยูเอ็ม 92 ก็จะช่วยสร้างเอ็นไซม์ตัวอื่นด้วย ดังนั้น คุณจะเห็นไหมว่า การหมักทั่วไปที่ชาวบ้านกำลังทำกัน แล้วทำการหมักนานๆหลายๆปี บางรายสร้างเงื่อนไขว่า ต้อง 10 ปีขึ้นไป(เพราะของตัวเองอ้างว่าทำนานกว่า 10 ปี คนอื่นที่เพิ่งคิดจะทำ แต่อยากใช้ ก็ต้องซื้อลูกเดียว) นั้น ต้องขอบอกเลยว่า หากทำการหมักนานเช่นนั้น เอ็นไซม์หายไปหมดแล้ว ยิ่งการหมักนานๆ ค่าของพีเอซต่ำหรือเป็นกรดอย่างรุนแรง ซึ่งเอ็นไซม์ถูกทำลายไปเกือบทั้งหมด ยกเว้นเอ็นไซม์ของน้ำส้มสายชูเท่า่นั้น จึงขอให้คุณกรุณาศึกษาเรื่องนี้ให้ดี หากคุณเข้าใจแล้ว คุณจะเห็นว่า การทำเอ็นไซม์บริโภคเองนั้น ง่ายกว่าการเพาะถั่งงอกเสียอีก และใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น ยิ่งนับแต่วันนี้เป็นต้นไป ทางดร.อานนท์ และคณะทำงานของอานนท์ไบโอเทค ได้ทำกาารคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ มีประสิทธิภาพสูง ในการสร้างเอ็นไซม์ได้เป็นแสนๆเท่า เมื่อเทียบกับร่างกายของมนุษย์ โดยใช้ระยะเวลาสั้น ซึ่งจุลินทรีย์ดังกล่าว จะบรรจุในแคปซูล เรียกว่า เชื้อบริสุทธิ์ ยูเอ็ม2555 เพื่อใช้ในการหมักเอ็นไซม์โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาหมักเป็นปีหรือสิบปี ซึ่งยูเอ็ม2555 จะใช้เวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วันเท่านั้น หากใครสนใจ สามารถติดต่อได้ที่ อานนท์ไบโอเทค 029083308, 0860830202 หรือที่ผม 025799200, 025797759 และ 0858270085 หรือที่ อ.ธวัช เจียศิริพงษ์กุล(จังหวัดแพร่) 0898293687 หรือที่คุณสง่า เอื้อตระกูล(เชียงใหม่) 0869154321 ส่วนเรื่องการทำเอ็นไซม์จากวัสดุอื่นๆ เพื่อสร้างเอ็นไซม์เฉพาะนั้น ใครสนใจ ขอให้ถามมา แน่นอนครับ ในการอบรมเห็ดในถุงวันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ นอกจากท่านจะได้รับความรู้เรื่องการเพาะเห้ดในถุงทุกชนิดแนวใหม่แล้ว จะมีการสอนควบกับการเพาะเห็ดในขอนไม้ และจะมีเรื่องของเอ็นไซม์แถมให้ฟังด้วย ครั้งนี้ จะทำการอบรมในห้องปรับอากาศ ที่เปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์เป็นเก้าอี้ห้องบรรยายอย่างดี สะดวกสบาย นำการสอนโดย ดร.อานนท์และ อ.เยาวนุช เอื้อตระกูล ตอนนี้ที่นั่งเกือบเต็มแล้ว ใครที่พลาดการอบรมรุ่นที่แล้ว ท่านสามารถรีบโทรจองรุ่นที่ 101 ได้อีกเพียงไม่กี่ที่นั่งที่เหลือครับ เพียงแต่ท่านหมุนไปสำรองที่นั่งได้ที่ 029083308 และ 0860830202
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง Empty Re: ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง

ตั้งหัวข้อ  lek lekkey Sat Feb 25, 2012 2:17 pm

เรียนท่าน อาจารย์
ผมขอขอบคุณ สำหรับคำตอบ ซึ่งละเอียดดีมาก ทำให้ผมเองต้องกลับไปทำการบ้านใหม่ โดยกลับไปศึกษาทบทวน เรื่อง พลังแห่งเอ็นไซม์บำบัด ใน web anonbiotec.com . ผมอายุ 45 ปีแล้วครับ รูปร่างน่าจะเป็นแบบที่ 3 (ซูปรา ,ขาดโปรตีเอส)สุขภาพผมปกติดี แต่ไม่ออกกำลังกาย และเริ่มรู้สึกได้ว่าตัวเอง ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่า ส่วนคุณแม่อายุ 65 ปี ท่านเป็นคนรักษาสุขภาพ แต่ระยะนี้เริ่มมี อาการของข้อเข่าเสื่อม (ไม่เป็น โรคเก้าท์) เดินนานๆ เริ่มไม่สะดวก.
หลังจากทำการบ้านทบทวน ความรู้ ใน web anonboitec.com สรุปได้ว่า ตัวผมเองเบื้องต้น ผมต้องการ เสริมเอ็นไซม์ โปรติเอส ,โลเปส และอะไมเลส ไว้สำหรับทานระหว่างมื้อ เพื่อซ่อมแซม,ขจัดของเสียในร่างการ และเสริมอาหาร เพื่อช่วยย่อย.

ผมจึงรบกวนขอสอบถามท่าน อาจารย์ เกี่ยวกับ วิธีการทำเอ็นไซม์ โปรติเอส ,โลเปส และอะไมเลส จากจุลินทรีย์ UM92 หรือ UM2555 ครับว่าควรจะใช้สารอาหารอะไรในการหมักกับจุลินทรย์เพื่อให้เกิด เอ็นไซม์โปรติเอส ,โลเปส และอะไมเลส ควรจะหมักนานเท่าไร และหมักแบบใช้ หรือไม่ใช้อากาศ?

ในส่วนของคุณแม่ของผม อยากสอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับ การบำบัดอาการข้อเสื่อม นอกจาก การเสริมเอ็นไซม์ แล้ว การทานเห็ดเป็นยา เพิ่มเติมจะช่วยบำบัดอาการข้อเสื่อมได้ดียิ่งขึ้น หรือไม่ครับ
ขอบคุณครับ
สมาชิก เลขที่ P100/038

lek lekkey

จำนวนข้อความ : 13
Join date : 30/12/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง Empty ขบวนการหมักโดยละเอียดนั้น ขออดใจรออีกนิด จะพยายามรวบรวมมาให้

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Mon Feb 27, 2012 9:41 am

หมู่นี้ นับตั้งแต่ ดร.อานนท์ เริ่มเปิดเผยความรู้ที่ท่านใช้ทำมาหากินมานานพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องของการหมักเอ็นไซม์ และการหมักเห็ดเพื่อทำเป็นเอ็นไซม์หรือยาอะไรต่างๆนั้น ก็ปรากฎว่ามีหลายต่อหลายคนให้ความสนใจ เพราะที่ผ่านมา มีน้อยรายนักที่จะรู้เรื่องของเอ็นไซม์ บางคนด้วยความไม่รู้เรื่องของเอ็นไซม์ กลับกล้าพูดเรื่องเอ็นไซม์จนผิดเพี้ยนไปหมด บางคนก็บอกว่า การทำเอ็นไซม์นั้น ยิ่งหมักนานเป็นสิบปี ยิ่งมีเอ็นไซม์สูง ทั้งๆที่เอ็นไซม์ส่วนใหญ่ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ที่ค่าพีเอสต่ำหรือมีความเป็นกรดสูง เช่น การหมักที่มีการรณรงค์ทำกันเต็มบ้านเต็มเมืองนั้น ไม่ได้เป็นการหมักเพื่อให้ได้เอ็นไซม์ แต่เป็นการหมักน้ำส้มสายชูธรรมดาเท่านั้นเอง แน่นอน ที่ต้องหมักกันเป็นปี เพราะเรืิ่มจากการใช้เชื้อมั่ว หรือใช้อะไรก็ไม่รู้ที่มันมาเอง มันจึงเป็นแหล่งสารพัดเชื้อ รวมทั้งเชื้อโรคด้วย ด้วยเหตุนี้ การหมักเพียงระยะสั้น จึงเสี่ยงอันตรายมาก จึงจำเป็นต้องหมักนานๆ เพื่อสะสมความเป็นกรด เมื่อมีกรดสูงขึ้น ผลสุดท้ายก็จะเหลือเชื้อน้ำส้มสายชู(Acetobactor acetii) เท่านั้น โดยเชื้อน้ำส้มสายชูนั้น มันจะย่อยพวกน้ำตาลหรือแอลกอฮอลล์ออกมาเป็นกรดน้ำส้ม และแผ่นเซลลูโลสเท่านั้น มันไม่ได้วิเศษวิโสอะไรดั่งที่คุยว่าเป็นยาวิเศษอะไร จริงๆแล้ว การหมักเอ็นไซม์นั้น มันอยู่ที่ว่า เราต้องการเอ็นไซม์อะไร เราขาดเอ็นไซม์อะไร และเราต้องการจะเสริมเอ็นไซม์อะไร ทีนี้ การที่จะทำเอ็นไซม์นั้นๆ เพื่อที่จะไปย่อยอะไร มันก็ต้องมีสารอหารหรือธาตุอาหารตั้งต้นตัวนั้นด้วย และจะต้องมีเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างเอ็นไซม์นั้นๆด้วย กล่าวคือ หากคุณต้องการเอ็นไซม์ที่ย่อยโปรตีน ซึ่งจริงๆคำว่า เอ็นไซม์ที่ย่อยโปรตีนนั้น มันเป็นคำที่กว้างมาก เพราะโปรตีนมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีองค์ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่มีเป็นหลายสิบชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนที่แตกต่างกันไป บางชนิดอาจจะมีกรดอะมิโนหลายชนิด หรือบางชนิดอาจจะเป็นกรดอะมิโนชนิดเดียวกัน แต่จำนวนที่มันจับเกาะกันนั้น แตกต่างกันไป หรือมีจำนวนที่แตกต่างกันไป ก็คถือว่า เป็นโปรตีนต่างชนิดกัน ดังนั้น เอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนแต่ละชนิด ก็จะต้องเป็นเอ็นไซม์เฉพาะ ของมันเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เขาจึงหมายรวมเอาว่า เอ็นไซม์ที่ใช้ย่อยโปรตีนนั้น เขาเรียกว่า โปรตีเอส(Protease) ซึ่งเราก็พบว่า มีจุลินทรีย์หลายชนิดที่สามารถย่อยโปรตีนได้ดี บางชนิดสามารถย่อยโปรตีนได้หลายชนิด และอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น เชื้อแบคทีเรียตระกูล เพดิโอคอคคัส พวกนี้ สามารถสร้างเอ็นไซฒ์ในเวลาไม่กี่นาที ได้เป็นแสนๆเท่าที่ร่างกายมนุษย์สร้างได้ ดังนั้น หากเราเอาอาหารที่มีโปรตีนให้มันกิน มันก็จะสร้างเอ็นไซม์พวกนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อย่อยโปรตีนเอาไปใช้ในการสร้างเซล หรือแบ่งเซลและการเจริญเติบโตของตัวมันเอง ผลที่ได้ นอกจากมันจะนำไปใช้ในการแบ่งเซลแล้ว มันยังคายของเสียออกมาในรูปของกรดหลายชนิด ที่สำคัญ คือ กรดแลคติก ซึ่งจะทำให้หลังจากหมักแล้วจะมีรสเปรี้ยว เช่น แหนม หรือผักกาดดอง เป็นต้น เมื่อมีปริมาณกรดสูงขึ้นเท่าไหร่ เอ็นไซม์ที่จะใช้ย่อยโปรตีนก็จะหมดสภาพหรือเสื่อมสลายลง พอมาถึงจุดนี้ ก็อยากจะฝากฝังผู้ที่กำลังติดตามคำตอบนี้ว่า การที่เราจะทำเอ็นไซม์ เอามาทาน หรือเอามาใช้ หรือทำไปขายนั้น เราจะต้องเอามาใช้ในช่วงที่จุลินทรีย์สร้างเอ็นไซม์มากที่สุด ซึ่งจะนำมาเสนอต่อไป ตอนนี้ ขอทำความเข้าใจเป็นเรื่องๆไปก่อน ไม่อยากให้ไปเร็วเกินไปโดยที่ไม่เข้าใจ อยากให้ผู้ที่อ่านมาถึงตรงนี้ กลับย้อนไปทำการบ้าน ด้วยการอ่านบทความของ ดร.อานนท์ ในเวปนี้ เรื่องของ พลังแห่งเอ็นไซม์บำบัดให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน เพราะมีเป็นร้อยหน้า และอย่าเพิ่งใจร้อน ใจเย็นๆ แล้ว ผมจะใช้เวลาไปทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้กระจ่างจาก ดร.อานนท์ แล้วเอามาเล่าให้ฟังต่อไป
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง Empty ขอความกรุณาไปอ่านหรือพิจารณาในคำถามเรื่อง การหมักเห็ดนางรมเพื่อเป็นยาลดความดัน

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Wed Feb 29, 2012 9:21 am

ที่เป็นหนี้คุณไว้ว่า จะพยายามหาเวลามาตอบข้อข้องใจของคุณนั้น ตอนนี้ เราได้รับคำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนจาก ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ในเรื่องของการหมักเอ็นไซม์ การหมักยาอะไรต่างๆ ซึ่งคำอธิบายส่วนใหญ่ มันเป็นการตอบปัญหาที่คุณถามมาในนั้นอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องของ การหมักเพื่อทำเป็นเอ็นไซม์ จึงอยากให้ไปดูในกระทู้ดังกล่าว และหากมีคำถามส่วนใดเพิ่มเติม ก็ถามมาได้ เพราะเรื่องเกี่ยวกับเห็ดเป็นยานั้น ดร.อานนท์ พร้อมเต็มที่ที่จะไขข้อข้องใจให้แก่สมาชิกของเรา เพราะที่ผ่านมาเอะอะอะไรเราก็นำเข้ายาจากต่างประเทศเข้ามาปีหนึ่งเป็นหมื่นเป็นแสนล้าน และเรื่องพรรค์อย่างนี้ น้อยคนนักที่เขาจะเปิดเผยกัน เพราะธุรกิจอะไรก็ช่างที่เกี่ยวกับยา มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์มหาศาล เนื่องจากใครก็ตาม ที่ผลิตยาได้และติดตลาด ก็จะร่ำรวยมหาศาลไปถึงลูกถึงหลาน เพราะต้นทุนอาจจะไม่ถึงบาท แต่การขายอาจจะสูงถึง 10 เท่า 100 เท่า บางอย่างเป็นพันเท่าก็มี แต่จากประสบการณ์ของ ดร.อานนท์ ที่ได้มีโอกาสไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเห็ดขององค์การสหประชาชาติในแทบทุกทวีปของโลก และได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเห็ดเป็นยาและสมุนไพรที่สำคัญหลายชนิดมานานหลายสิบปี ท่านจึงตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่ช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านอยากจะเอาประสบการณ์การอันทรงคุณค่าที่ท่านมีอยู่ถ่ายทอดเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน ดังนั้น หากคุณได้นำเอาวิชาการดังกล่าวไปใช้และได้ผลประการใด เราเพียงแต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ขอให้ท่านได้โปรดถ่ายทอดให้ผู้อื่นฟัง โดยสามารถเล่าให้ฟังผ่านกระทู้นี้ เช่นเดียวกับ คุณบรรจง ที่เคยเอาเรื่องของ การใช้น้ำหมักเห็ดหลินจือ รักษาโรคเรื้อรังของคนในครอบครัวและพรรคพวกเพื่อนฝูงอย่างได้ผลมาแล้ว นี่คิดถึงคุณบรรจง คุณสุมาลี ผู้การภักดี และนายจิวมาก ไม่รู้ว่า หายไปไหนตั้งนาน หากได้รับข่าวนี้แล้ว เข้ามาทักทายกันบ้างเน้อ
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขอคำแนะน้ำเรื่องการทำน้ำเอ็นไซม์ จากจุลินทรีย์ยูเอ็ม 92 ไว้ทานเอง Empty ผมยังอยู่ครับ

ตั้งหัวข้อ  packdee58 Wed Feb 29, 2012 4:25 pm

ผมยังแวะเวียนมาที่นีเป็นประจำครับ ยังมุ่งจะเอาดีทางเห็ดแครงอยู่ครับ
เดิมคิดทำแห้งแล้วป่นละเอียดเป็นชาเห็ดแครง แบบบรรจุซองสำเร็จ
ทำดูแล้วมีกลิ่นเหม็นหืน คงเกิดจากการทำแห้งด้วยวิธีตากแดดไม่ดีพอ
มาเจอเรื่องทำแหนมเห็ดกับการหมักเอาทั้งอาหารและยา จะลองทำดูครับ

อ่านพบที่ว่าเอ็นไซม์ที่ร่างกายต้องการนั้น มันมีมากกว่า 2800 ชนิด
เห็นตัวเลข 2800 แล้วผมก็ยังไปนึกถึงเห็ดแครงเคยอ่านพบว่ามี 2800 เพศ
http://botit.botany.wisc.edu/toms_fungi/feb2000.html

เห็นในเวปไซท์มากมายกล่วถึงที่เกาหลี เขาเลี้ยงเส้นใยเห็ดแครงทำยากัน
ของเราเอามาทำแหนมกับเห็ดดองน่าจะง่ายกว่าครับ ได้ทั้งอาหารและยา
packdee58
packdee58

จำนวนข้อความ : 133
Join date : 17/09/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ