Anon Biotec web board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สอบถามเรื่องแมลงหางหนีบครับ

2 posters

Go down

สอบถามเรื่องแมลงหางหนีบครับ Empty สอบถามเรื่องแมลงหางหนีบครับ

ตั้งหัวข้อ  kapom1977 Fri Jul 09, 2010 4:35 pm

เรียน ท่านอาจารย์อานนท์ ที่เคารพ
มีแมลงชนิดนหนึ่ง มันคงคิดว่าก้อนเห็ดของผม เป็นบ้านเอื้ออาทร เลยมาจับจองอาศัยอยู่กันก้อนละตัวสองตัว ค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ดูจากลักษณะคิดว่ามันเป็น "แมลงหางหนีบ" ครับ เพราะที่หางมันมีคีมหรือปากคีบขนาดใหญ่พอประมาณ เจ้าตัวนี้ บางตัวใหญ่มากยาวประมาณ 1.5 - 2 ซ.ม. ปกติจะเห็นมันเวลาฉีดพ่นฟังก์แบค หรือ อาหารเสริมเวลาเย็น ไม่ทราบว่า เจ้าตัวหางหนีบ มีอันตรายต่อก้อนเห็ดอย่างไรบ้างครับ เท่าที่ผมสังเกต ยังไม่แน่ใจในผลเสียของมันเท่าไร สู้ไรสีแดงๆที่พบไม่ได้ หนักหนาสาหัสกว่านัก

kapom1977

จำนวนข้อความ : 31
Join date : 07/07/2010
Age : 60
ที่อยู่ : 25/353 Moo.10 Tumbol Ladsawhy Lumlookka Pathumtanee 12150

ขึ้นไปข้างบน Go down

สอบถามเรื่องแมลงหางหนีบครับ Empty แมลงหางหนีบคือ ตัวห้ำธรรมชาติที่มาช่วยคุณกำจัดศัตรูเห็ดโดยไม่ต้องจ้าง

ตั้งหัวข้อ  Anonmushroom Fri Jul 09, 2010 7:29 pm

โดยปกติแมลงหางหนีบ จะเป็นแมลงประเภทตัวห้ำครับ มันเป็นแมลงตระกูล Proreus simulans Stallen ตัวสีน้ำตาล หรือตัวดำ โดยปกติในทางชีวภาพกำจัด จะเพาะเลี้ยงแมลงหางหนีบพวกนี้ไว้ทำลายไข่แมลงศัตรูพืชและเห็ด ดังข้อมูลข้างล่างนี้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Proreus simulans Stallen (ตัวสีน้ำตาล )
ชื่อสามัญ Earwig
อันดับ (Order) Dermaptera
วงศ์ (Family) Chelisochidae
แมลงหางหนีบ เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติประเภทตัวห้ำ มีทั้งชนิดตัวสีน้ำตาลและตัวสีดำ พบในแปลงอ้อย ข้าวโพด แปลงปลูกพืชผัก โดยเฉพาะพืชตระกูลกะหล่ำ แมลงหางหนีบจะหลบซ่อนตัวอยู่ภายในลำต้นและตามซอกกาบใบอ้อยหรือข้าวโพด หรือตามซอกดินที่มีเศษใบไม้ มีความสามารถในการ เสาะหาเหยื่อตามซอกมุมได้ดี
ประโยชน์
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยแมลงหางหนีบทำลายไข่และหนอนขนาดเล็ก ใช้ควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชในไร่อ้อยและข้าวโพดเช่น หนอนเจาะ ลำต้นและยอดอ้อย หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด หนอนกระทู้ข้าวโพด หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ไข่และหนอนของด้วงกุหลาบ
รูปร่างลักษณะและวงจรชีวิต (ชนิดตัวสีดำ)
ระยะไข่ ไข่ทรงกลม ผิวเรียบ สีขาวนวล วางไข่เป็นกลุ่มใต้ดิน สังเกตดูที่บริเวณใต้กล่องจะพบไข่เป็นกลุ่มอยู่ที่ก้นกล่อง ไข่ 1 กลุ่ม มีไข่ประมาณ 30 - 40 ฟอง ไข่ที่วางใหม่ ๆ มีสีขาวนวล เมื่อใกล้ฟักจะใสมีจุดสีดำตรงกลาง ระยะไข่ 8 - 10 วัน
ระยะตัวอ่อน มีรูปร่างลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย แต่มีขนาดเล็กกว่า ตัวอ่อนมี 3 วัย อายุ 55 วัน
ระยะตัวเต็มวัย ลำตัวสีดำ ไม่มีปีก มีแพนหางเรียบสีดำ เพศผู้ ลำตัวกว้าง 0.20 ซม. ยาว 1.45 ซม. มีหนวดแบบเส้นด้ายสีดำ มี 11 ปล้อง ปล้องใกล้ปลายหนวดมีสีขาวสลับ เพศเมีย ลำตัวกว้าง 0.30 ซม. ยาว 1.60 ซม. หนวดแบบเส้นด้ายสีดำ มี 17 ปล้อง ปล้องใกล้ปลายหนวดมีสีขาวสลับ ตัวเต็มวัยอายุประมาณ 90 วัน
พฤติกรรมแมลงหางหนีบ
แมลงหางหนีบสีดำมีนิสัยกร้าวร้าว ทำลายเหยื่อที่เป็นตัวหนอนโดยใช้แพนหาง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคีมหนีบลำตัวเหยื่อ
แล้วกินเป็นอาหาร แต่ถ้าเป็นแมลงขนาดเล็กเช่นเพลี้ยอ่อนจะกัดกินโดยตรง ถ้ากินอาหารอิ่มแล้วพบตัวหนอน
จะใช้แพนหางหนีบจนหนอนตายแล้วทิ้งและไปหนีบหนอนตัวใหม่ให้ตายต่อไปโดยไม่กินเหยื่อ
การนำไปใช้ควบคุมศัตรูพืช
ปล่อยแมลงหางหนีบตั้งแต่วัย 2 จนถึงตัวเต็มวัยเพื่อควบคุมศัตรูพืช โดยใช้อัตราการปล่อย 100 ตัว/ไร่
ปล่อย 1 - 2 ครั้ง/ฤดูปลูก
ดังนั้น หากเจอแมลงหางหนีบที่ไหน ให้เชิญมันมาอยู่บ้านเอื้ออาทรของคุณเถอะ มันจะช่วยดูแลก้อนเห็ดของคุณเพื่อไม่ให้มีไร หรือหนอนเข้ามาทำลายเห็ดของคุณครับ
Anonmushroom
Anonmushroom

จำนวนข้อความ : 352
Join date : 05/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ