Anon Biotec web board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ขี้เลื่อยไม้สนไทย (ไม้สนจากระยอง)

2 posters

Go down

ขี้เลื่อยไม้สนไทย (ไม้สนจากระยอง) Empty ขี้เลื่อยไม้สนไทย (ไม้สนจากระยอง)

ตั้งหัวข้อ  บรรพต Sat Mar 29, 2014 10:38 am

ถ้าเราจะนำขี้เลื่อยไม้สนมาเพาะเห็ด
ขั้นตอนการหมักต้องใส่อะไรเพิ่มบ้างครับ
แล้วควรหมักกี่วัน

                     Embarassed ขอบคุณล่วงหน้าครับ

บรรพต

จำนวนข้อความ : 10
Join date : 29/06/2013
Age : 38
ที่อยู่ : 84ม.10 ต.บ้านใหม่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา 30250

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขี้เลื่อยไม้สนไทย (ไม้สนจากระยอง) Empty Re: ขี้เลื่อยไม้สนไทย (ไม้สนจากระยอง)

ตั้งหัวข้อ  บรรพต Sun Mar 30, 2014 4:42 pm

สอบถามอีกเรื่องครับ
ถ้าเรานำก้อนเห็ดที่หมดอายุแล้วแต่ภายในก้อนมีพวกราเขียว ราดำอยู่
ไปใส่ในไร่มันสำปะหลัง ราเขียว ราดำเหล่านี้จะส่งผลอะไรกับหัวมันไหมครับ

บรรพต

จำนวนข้อความ : 10
Join date : 29/06/2013
Age : 38
ที่อยู่ : 84ม.10 ต.บ้านใหม่ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา 30250

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขี้เลื่อยไม้สนไทย (ไม้สนจากระยอง) Empty การหมักขี้เลื่อยไม้สนไทย๖ขี้เลื่อยจากระยอง(ฮิ)

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Sat Apr 05, 2014 7:23 am

แรกเริ่มเดิมที ผมคิดเอาเอง แล้วก็เอาความคิดที่ผมคิดเองไปสอนคนอื่นว่า ขี้เลื่อยไม้ที่มียางเอามาเพาะเห็ดไม่ได้ ก็อ้างไปสารพัด เพื่อจะให้คนที่ฟัง คนที่เราสอนไปนั้นเชื่อ แต่พอผมไปสอนการเพาะเห็ดในหลายประเทศ ซึ่งแทบทุกประเทศเขาไม่มีขี้เลื่อยไม้ยางพารา มีนี้ขี้เลื่อยไม้อย่างอื่น ยกตัวอย่างเช่น ประเทศที่หนาวๆ เช่น ภูฎาน เลโซโถ สวาซิแลนด์ บอสวานา แอฟริกาใต้ ประเทศเหล่านี้ อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่าพันเมตรขึ้นไป เขาจึงปลูกไม้ยูคาลิปตัสและไม้สนค่อนข้างเยอะ ในเมื่อหาอะไรไม่ได้แล้ว จึงจำเป็นต้องเอาขี้เลื่อยพวกนี้มาเพาะเห็ด จึงรู้ว่า โอยนี่เราคิดเอาเองนี่หว่า เราโง่เองนี่หว่า ที่ไปคิดว่า ไม้พวกนี้ ที่มีกลิ่นน้ำมัน ก็เลยคิดว่า เอามาเพาะเห็ดไม่ได้ แต่พอเอามาเพาะเห็ดดูก็ได้นี่หว่า (นี่ไง บางทีบางอย่าง หากไม่ลงมือทำเอง ไปเชื่อเขามา หรือคิดเอาเอง ก็อาจจะไม่ถูกเสมอไป ที่สำคัญ พอคิดเอาเองในทางที่ผิด แล้วดันไปสอนคนอื่น พอคนอื่นเชื่อ ก็เลยโง่ตามๆกันไปเช่นกัน ดูอย่างกรณีของปุ๋ยนาซิ มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น(Thailand only) ที่มีใครไม่รู้ ที่มีคนเคารพบูชาว่าเป็นปรมาจารย์ บอกว่า เวลาปลูกข้าว ต้องใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ปรากฎว่าตั้งแต่เชียงรายยันนราธิวาส ก็หลับหูหลับตาใช้สูตรนี้มาตลอด ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ดินแต่ละที่แต่ละแห่งมีความต้องการปุ๋ยแตกต่างกันไป) เพียงแต่ว่า การใช้ขี้เลื่อยอะไรก็แล้วแต่ แม้กระทั่งขี้เลื่อยจากไม้เนื้อแข็ง(ยกเว้น ไม้อะไรก็แล้วแต่ ที่ผ่านการชุบน้ำยาฆ่าแมลงและเชื้อรา แม้ว่าเอาไปเพาะเห็ดได้ แต่เห็ดที่ได้มาจะมีสารพิษติดมาด้วย โปรดอย่าใช้) ควรต้องผ่านการหมัก เพื่อให้เชื้อจุลินทรีย์ย่อยอาหารบางส่วน ให้อยู่ในสภาพที่เห็ดเอาไปใช้ได้เสียก่อน พร้อมกันนั้น ขณะทำการหมัก เราสามารถเสริมอาหารเข้าไปได้เลย อาหารที่เสริมเข้าไป ก็จะไปเร่งเชื้อจุลินทรีย์ให้ทำงานได้เร็วขึ้น และอาหารเสริมก็จะถูกเปลี่ยนรูปให้ง่ายต่อการที่เห็ดเอาไปใช้ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในการหมักขี้เลื่อยไม้บางอย่าง เช่น ไม้สน ปฏิกิริยาของจุลินทรีย์มักจะเกิดขึ้นช้า หากเป็นเช่นนี้ ควรใช้วัสดุอย่างอื่นที่ย่อยง่ายสลายเร็ว เช่น ฟาง ซังข้าวโพด เปลือกผลไม้ มูลสัตว์เติมเข้าไปด้วย มันจะช่วยเร่งการหมักได้ หรือแม้กระทั่งใช้ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ไม้มะม่วง ไม้ก้ามปู อะไรพวกนี้ ผสมเข้าไป ถ้าจะให้ดี หากไม่มั่นใจว่า จุลินทรีย์ธรรมชาติมีมากพอไหม ควรใช้เชื้อจุลินทรีย์ไบโอวันใส่เพื่อเร่งการหมักด้วย วิธีการหมักนั้น ให้เริ่มจากการวัดจำนวนขี้เลื่อย เช่น ขี้เลื่อยแห้ง 100 กก. ให้ใส่อาหารเสริม KAT 101(อย่าถามว่าข้างในมีอะไรบ้าง เพราะเป็นความลับทางการค้าของอานนท์ไบโอเทค แต่ผู้เข้ารับการอบรมเห็ดทุกท่านจะรู้ว่า สูตรนี้มีอะไรบ้าง ในการอบรมวันเสาร์ที่ 10 พ.ค. ก็จะสอนสูตรนี้ด้วยว่าข้างในมีอะไร) เข้าไปประมาณ 7-10 กก. ใส่เชื้อจุลินทรีย์ไบโอวันไป 1 ลิตร ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วปรับความชื้นให้ได้ประมาณ 55-60 % (วัดจากขี้เลื่อยแห้ง 100 กก. เติมน้ำไป 100-120 กก.) จากนั้นจึงทำการกองไว้ให้สูงประมาณ 60-80 ซม. กลับกองทุก 1-2 วันจนกระทั่งขี้เลื่อยหรือวัสดุเพาะหอม ส่วนใหญ่ก็หมักประมาณ 7-10 วันก็หอมแล้ว ก็เอาไปใช้เพาะเห็ดได้เลย หากยังไม่เอามาใช้ ผึ่งให้แห้ง จะสามารถเก็บไว้ใช้นานๆเป็นปีๆได้ครับ
สำหรับคำถามแถมของคุณที่บอกว่า ก้อนเก่าที่เพาะเห็ดแล้ว และมันเป็นราเขียว ราส้ม ราดำ หากเอาไปใส่ในต้นไม้ สวนยางอะไร มันจะมีปัญหาไหม ต้องขอเรียนว่า จริงๆแล้ว การที่พืชเป็นโรคนั้น ก็สาเหตุมาจากเชื้อรา หรือแบคทีเรียเหมือนกัน แต่มันเป็นคนละชนิดกัน ในทางตรงกันข้าม ราเขียว ราส้ม รวมทั้งราดำในเห็ดนั้น มันกลับเป็นผลดีต่อพืชเสียอีก เพราะมันจะช่วยย่อยปุ๋ยหมักได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ตัวราพวกนี้ นอกจากมันไม่เป็นอันตรายต่อพืชแล้ว มันยังเป็นยามเฝ้าต้นไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้ราอย่างอื่น ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช เข้าไปทำลายพืช ดังที่อาจจะได้ยินว่า มีการใช้ราเขียว(Trichoderma harzianum or Trichoderma viridae) เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง แล้วเอาไปใส่บริเวณรากพืช มันจะช่วยป้องกันกำจัด เชื้อราอย่างอื่นที่เป็นโรคพืชได้ นอกจากนี้ มันก็ยังช่วยย่อยปุ๋ยหมักได้เร็วขึ้น ทางที่ดี อยากแนะนำว่า ก้อนเพาะเห้ดที่เก่าและเสียแล้ว ให้คุณแกะออกมา ไม่ว่าจะเสียราเขียว ราส้ม ราดำ ให้ดีเอาไบโอวันราดเข้าไปหน่อย แล้วเอาเชื้อเห็ดฟางใส่เข้าไป แล้วเอากองสุมไว้ไม่เกิน 25-30 ซม. แล้วเอาดินผสมแกลบผสมโดโลไมท์คลุม รดน้ำบนดินให้ชุ่ม ก็จะได้ดอกเห็ดฟางเพิ่มขึ้นอีกมากมายครับ
Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ