Anon Biotec web board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม

2 posters

Go down

สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม Empty สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม

ตั้งหัวข้อ  MC.TGN Thu Dec 08, 2011 9:40 am

ได้รายงานตัวตั้งแต่ต้นว่า แม้ว่าผมจะเกิดอยู่ในครอบครัวเอื้อตระกูล ตั้งแต่เกิดมาก็เห็ดคุณน้า คือ อ.ธวัช และ อ.แสงจันทร์ เจียศิริพงษ์กุลเพาะเห็ดอยู่แล้ว เพราะเราอยู่บ้านที่มีรั้วเดียวกันที่บ้านร่องกาศ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ แต่พอโตขึ้นผมก็ย้ายไปเรียนต่างถิ่นต่างที่กันและก็ทำงานที่แตกต่างกันไปโดยสิ้นเชิง แต่ก็เป็นการสะสมความรู้และประสบการณ์ด้านอื่นได้มากพอสมควร ที่น่าจะถึงเวลาแล้ว ที่ผมจะต้องนำเอาความสามารถที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มาช่วยเหลืองานของตระกูล แต่พอเข้ามาแล้ว ก็ยังต้องปรับตัวและหาความรู้เกี่ยวกับเห็ดเพิ่มเติม นี่เข้ามาได้ไม่นาน ก็ได้ข่าวว่าจะมีการสัมนาเกี่ยวกับเห็ด จัดโดยสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ควบคู่ไปกับการเปิดงานพืชสวนโลก ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด ระหว่างวันที่ 15-16 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ โดยวันที่ 16 เป็นคิวที่ ดร.อานนท์จะเข้าร่วมสนทนาอนาคตเห็ดไทยกับผู้เชี่ยวชาญเห็ด 3 ท่าน ตรงนี้ผมไม่ติดใจ เพราะจะต้องไปสังเกตการณ์อยู่แล้ว แต่มามีข้อสงสัยว่า วันเปิดงานนั้น จะมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ ที่เป็นอดีตนายกสมาคมและเป็นรองผู้อำนวยการตำหนักแม่ฟ้าหลวงมาพูดเรื่องอดีตถึงปัจจุบันเกี่ยวกับเห็ด ซึ่ง ชื่อและหน้าตาของ ดร.ฤกษ์ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง เป็นคนที่ตามเสด็จอย่างใกล้ชิดกับสมเด็จย่า จึงอยากจะรู้ว่า ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม ผมอยากรู้ จึงอยากถาม แต่พอถามแล้ว ผมก็แทบจะไม่ต้องตั้งคำถามอะไรอีกเลย เพราะ ดร.อานนท์ก็งัดเอาประวัติศาสตร์อันยาวนานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ ดร.ฤกษ์มาเล่าให้ฟังว่า
ในช่วงที่ ดร.อานนท์ เป็นนิสิต(คำว่านิสิต คือ นักศึกษาที่พักอยู่ภายในรั้วของมหาวิทยาลัย ส่วนคนที่เทียวไปเทียวมา ไม่ได้พักอยู่ในมหาวิทยาลัย เรียกว่า นักศึกษา นี่แหละด้วยความเป็นครู ท่านก้เริ่มจากคำว่านิสิตเลย) ได้ทำกิจกรรมอยู่กับชมรมเห็ดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และก็ได้ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง ตลอดจนได้ไปปรึกษากับท่านผู้รู้เกี่ยวกับเห็ดต่างๆ เช่น อ.ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ คุณเสียงทอง นุตราลัย คุณสำเนา ภัทรเกตุวิทย์( 2 ท่านหลังอยู่สถาบันวิจัยและโครงการหลวง) อทองยศ อเนกะเวียง ดร.วินิต แจ้งศรี ดร. ประกอบ กาญจนศูนย์ และ อ.พันธุ์ทวี ภักดีดินแดน ซึ่งคนที่ใกล้ชิดและทำการปรึกษามากที่สุด คือ อ. พันธุ์ทวี เพราะท่านเป็นหัวหน้าสาขาจุลชีววิทยาประยุกต์ กองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร ที่ ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ เป็นผู้อำนวยการอยู่ อ.พันธุ์ทวี คือ ศิษย์เอก ของท่าน อ.ก่าน ชลวิจารณ์ ที่เราถือว่าท่านเป็นปรมาจารย์เห็ดไทย โดย อ.ก่านได้ถ่ายทอดวิทยายุทธเกี่ยวกับเห็ดทั้งหมด รวมทั้ง ดร.วินิต แจ้งศรี ที่นำเอาเห็ดนางรมเข้ามา ก็เอามาให้ อ.พันธุ์ทวีทดลองเพาะจนสำเร็จเป็นคนแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2500 ดังนั้น หลังจากจบการศึกษาจาก ม.เกษตร ดร.อานนท์ก็ได้เข้าไปทำงานเป็นลูกจ้างชั่วคราวกับ อ.พันธุ์ทวี โดยวันแรกที่ ดร.อาานท์เข้าไปทำงานนั้น ก็ได้ขอให้ อ.พันธุ์ทวี เชิญบรรดานักวิชาการเกี่ยวกับเห็ดมาประชุมกัน ทั้งๆที่ขณะนั้น ดร.อานนท์ เป็นแค่ลูกจ้างชั่วคราวและเข้ามาทำงานเป็นวันแรก แต่กลับเป็นคนมาเสนอนโยบายว่า จากนี้ไป เราจะไม่ทำเฉพาะงานวิจัยแล้วซุกงานวิจัยที่มีคุณค่าอยู่แต่ในลิ้นชักอีกต่อไป เราจะต้องเอาความรู้ที่ได้จากการทดลองเหล่านี้ ออกไปเผยแพร่แก่สาธารณชน ซึ่งทุกคนก็เห็นด้วย แต่มันขัดแย้งกับนโยบายของกรม เพราะ หน่วยงานที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรนั้น ต้องเป็นหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรเท่านั้น(นี่ไงที่ทำให้ประเทศไทยสู้อะไรคนอื่นไม่ได้ เพราะฝ่ายวิชาการก็มัวแต่ทำวิจัย ฝ่ายส่งเสริม พอจบมาก็ส่งเสริมกันตะบี้ตะบัน โดยทั้งสองหน่วยงานแล้วในหลักการต้องร่วมมือกัน แต่ในทางปฎิบัติแล้ว ไปคนละทาง) ดังนั้น ดร.อานนท์ก็ไปเสนอให้ทหารที่ค่ายกาวิละ คือ พล ต. จวน วรรณรัตน์ ผู้บัญชาการค่ายกาวิละที่สนใจเรื่องเห้ด ให้ท่านทำเรื่่องมายังกรมวิชาการเกษตร เพื่อขอวิทยากรไปอบรมแก่ทหารที่ฟาร์มเกษตรของค่ายทหาร นับว่าเป็นครั้งแรกของกรมวิชาการเกษตร ที่เอาเรื่องเห็ดออกสู่สายตาประชาชน ที่เก็บความรู้เรื่องเห็ดจนเอกสารทั้งหมดเป็นเชื้อราไปเกือบหมดแล้วกว่า 40 ปี และจากจุดนี้เอง ที่อีกไม่กี่วันต่อมาในปี 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทอดพระเนตรการอบรมเห็ดให้แก่ทหารเป็นการส่วนพระองค์ในเวลาค่อนข้างเย็นมากแล้ว และจากจุดนี้เอง ที่ทำให้กรมวิชาการเกษตรดังเป็นพลุแตกเกี่ยวกับเห็ด อ.พันธุ์ทวี จึงได้เข้าไปปรึกษากับท่านผู้อำนวยการ คือ ดร.ฤกษ์ว่า อยากให้หาตำแหน่ง เพื่อบรรจุนายอานนท์ เข้าเป็นข้าราชการประจำเสีย แต่ ดร.ฤกษ์ปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า เด็กพวกนี้ เวลาช่วยมันแล้ว พอมันดัง มันก็หนีไปแล้ว อีกอย่างนายอานนท์ ไม่ได้จบมาด้านโรคพืช แต่จบมาทางพืชไร่ ทางปลูกข้าว ปลูกข้าวโพดโน่น จึงไม่มีตำแหน่งให้ แต่ อ.พันธุ์ทวี ไม่ละความพยายาม เพราะเห็นว่า เด็กคนนี้ต่างหาก ที่ทำให้กรมวิชาการเกษตรโด่งดัง ท่านจึงเข้าหารัฐมนตรีกระทรวงเกษตร สมัยนั้นคือ ท่านหลวงอินทรีย์ จันทรสถิตย์ หรือหลวงอิงค์ ที่บ้านแถวอนุสาวรีย์ชัย แล้วเล่าให้ท่านฟังถึงเรื่องเห็ด ท่านหลวงอิงค์ท่านสนใจเรื่องเห็ดอยู่แล้ว ตั้งแต่ร่วมกันตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับท่านหลวงสุวรรณ และได้รับรู้เรื่องเห็ดจาก อ.ก่าน พอ อ.พันธุ์ทวีไปหาที่บ้านเรื่องนี้ ท่านไม่รอช้าเลย วันนั้น ท่านพาไปดูที่ของท่านอยู่ที่ซอยเรวดี นนทบุรี เพื่อมอบให้นายอานนท์ใช้ทำการศึกษาเรื่องเห็ด แล้วท่านก็ทำเรื่องขอตำแหน่งพิเศษให้นายอานนท์ ในตำแหน่ง นักวิชาการโรคพืช(ทั่วไป) เป็นนักวิชาการโรคพืชคนเดียว ที่มีวงเล็บติดอยู่ว่าทั่วไป เพราะไม่ได้จบโรคพืช ตำแหน่งนี้มีข้อผูกพันว่า เมื่อไหร่นายอานนท์ลาออก เมื่อนั้นตำแหน่งนี้ต้องหยุดโดยพลัน กว่าจะได้รับบรรจุเป็นข้าราชการก็เป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่เกือบ 2 ปี ในช่วงนี้ก็ได้ทำการเปิดอบรมเห็ดให้แก่ประชาชน เช่นเดียวกับที่เคยเปิดอบรมในมหาวิทยาลัยเกษตร คนรอคิวเข้ารับการอบรมเป็นหมื่น ในการอบรมทุกครั้ง ก็จะเชิญ ดร.ฤกษ์ มาเป็นประธานในการแจกประกาศนียบัตร ซึ่งจริงๆแล้ว การเปิดอบรมเห็ดของกรมวิชาการเกษตรนั้น เป็นผลสืบเนื่องจากที่เคยอบรมของชมรมเห้ด ของ ม.เกษตรมาก่อนหลายหมื่นคนแล้ว และในการอบรมเห็ดของ ม.เกษตรนั้น ได้มีความพยายามที่จะตั้งสมารคมเห้ดกันมาโดยตลอด เมื่อมีการไปอบรมเห็ดส่วนภูมิภาคก็ได้ตั้งชมรมเห็ดส่วนภูมิภาคขึ้น พอไปสอนที่ลำปาง เชียงใหม่ ก็ตั้งชมรมเห็ดภาคเหนือขึ้นที่จังหวัดลำปาง เมื่อปี 2517 โดยมีคุณนิเวศน์ เป็นประธาน ป้าพยอม สุขวัลย์เป็นรองประธาน ในปีเดียวกันไปอบรมที่วิทยาลัยครูอุดร ก็ตั้งชมรมเห็ดภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น โดยมีคุณจิตต์ ภักดี เป็นประธาน ที่ภาคใต้ก็ตั้งชมรมเห็ดภาคใต้ โดยมีคุณชิต ตุลยวณิชย์ เป็นประธาน ในปีต่อมาตั้งชมรมเห็ดแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีคุณเอี่ยม กนิษฐกะ เป็นประธาน ในปี 2518 ในปี 2519 ได้ตั้งสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยขึ้น สำเร็จเมื่อปี 2520 โดย พล.ต.ต นพ. ชูชาติ อุตตโรทัย หนึ่งในผู้เข้ารับการอบรมเห้ดกับ ดร.อานนท์ ที่กรมวิชาการเกษตร รุ่นที่ 2 เป็นคนช่วยวิ่งเรื่องก่อตั้งจนสำเร็จ โดย ดร.อานนท์ มีข้อแม้ว่า หากตั้งสมาคมได้ ขอให้เชิญ ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ มาเป็นนายกสมาคม ในช่วงที่ ดร.อานนท์ เขียนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐอยู่ ในคอลัมภ์หากินบนผืนแผ่นดินไทย และจัดรายการทีวีช่อง 5 ในรายการชีวิตกับธรรมชาติ ก็ได้เชิญ ดร.ฤกษ์มาออกรายการหลายครั้ง ด้วยการเป็นผู้ร่างสคริปให้ท่าน ดังนั้น ดร.อานนท์ได้กล่าวสรุปว่า รู้จัก ดร.ฤกษ์ ตั้งแต่ท่านยังไม่สนใจเรื่องเห็ดเลย แล้วก็เชิญท่านมาเป็นนายกสมาคมเห็ดคนแรก และที่สำคัญ การที่ ดร.อานนท์ ได้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเห้ดของ องค์การสหประชาชาติ ก็เพราะ ดร.ฤกษ์ เพราะตอนที่ ดร. ดี แอล อุมาลี ผู้อำนวยการองค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ ประจำภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิก ซึ่งเป็นคนฟิลิปปินส์ ก่อนที่ท่านเกษียณอายุ ท่านอยากมาอบรมเห็ด ซึ่ง ดร.ฤกย์ หมายมั่นปั้นมือว่า จะเป็นวิทยากรเอง เพราะท่านพูดภาษาอังกฤษเก่งมาก ซึ่ง ดร.อานนท์ไม่ทราบเกี่ยวกับกำหนดการนัดหมายอันใด เพียงแต่ได้รับคำสั่งจาก ดร.ฤกษ์ว่า ให้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเห็ดไว้โชว์ผู้หลักผู้ใหญ่ที่สำคัญมากจะมาดูในวันหยุด จะมาวันไหน เวลาใดไม่ทราบ ดังนั้น ขอให้ฝากกุณแจตึกเห็ดกับภารโรงไว้ก็แล้วกัน หากผู้ใหญ่มา ดร.ฤกษ์จะเป็นคนดูแลเอง ปรากฏว่า พอถึงเวลามาจริงๆ วันนั้น ดร.ฤกษ์ท้องร่วงอย่างรุนแรง ไม่สามารถเดินทางมารับรองได้ จึงให้คนไปตาม ดร.อานนท์ ที่พักอยู่ที่บ้านพักข้าราชการที่โรงสูบมาต้อนรับ ตรงนี้เอง คือ จุดแปรผันของชีวิต ดร.อานนท์เลยก็ว่าได้ เพราะหลังจากพา ดร.ดี แอล อุมาลีดูงานเรื่องเห็ด แล้วก็พาท่านไปดูฟาร์มเห็ดต่างๆที่กระทุ่มแบน ซึ่งรวมถึงของเฮียหลีด้วย แล้วในครั้งนั้น ดร.อุมาลี เชิญไปทานข้าวที่บ้าน ที่ซอยประสานมิตร ถนนสุขุมวิท แล้วท่านบอกว่า ท่านเจอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเห็ดที่แท้จริงแล้ว เพราะที่ผ่านมา ท่านเจอผู้เชี่ยวชาญเรื่องเห็ดมามากมายจนนับไม่ถ้วน ส่วนใหญ่ก็เป็นศาสตราจารย์และหัวหงอกกันทั้งน้าน ผู้เชี่ยวชาญพวกนี้ เต็มไปด้วยความรู้ที่เรียกว่า Full of know how แต่ท่านยังไม่เคยเห็นคนที่มีความรู้ทางด้านการปฏิบัติ ซึ่งท่านว่า วันนี้ ท่านเจอแล้ว ท่านเจอ คนที่มีทั้ง ความรู้และปฏิบัติ โดยท่านใช้คำว่า Full of know how and do how แล้วท่านก็เริ่มปฏิบัติการไปเข้าเฝ้ากษัตริย์ภูฏานหลังจากนั้นอีกไม่นาน ท่านก็ส่งไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเห็ดที่ประเทศภูฎานเมื่อปี 2524 เป็นคนไทยคนแรกที่ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญระยะยาวที่ประเทศนี้ แต่ก่อนไป ท่านเป็นตัวตั้งตัวตี ในการจัดงานแต่งงานให้ และขอให้เชิญ ดร.เรดดี้ รองผู้อำนวยการของท่านมาเป็นประธาน และเชิญ ดร.ฤกษ์มาเป็นผู้สวมหรือคล้องพวงมาลัย
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36513609362736213623359
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36513609362736213623359
เมื่อครั้งที่ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล นำคณะนักวิชาการสาขาจุลชีววิทยาประยุกต์ กรมวิชาการเกษตรไปอบรมเห็ดให้คณะนายทหารค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2519 จากนั้นอีกไม่นาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมการอบรมเห็ดที่เปิดเป็นครั้งแรก เป็นการส่วนพระองค์ นับว่าเป็นมหาโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิตของ ดร.อานนท์ที่ได้เข้าเฝ้าและถวายรายงานรายละเอียดการเพาะเห็ด และทำให้เป็นพลังและกำลังใจมาตราบทุกวันนี้
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36483611363636043626361
วันเปิดป้ายสมาคม ที่ได้เชิญ ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ มาเป็นนายก ในครั้งนี้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดป้ายสมาคม (นี่คือ ภาพประวัติศาสตร์ ที่คณะกรรมการสมาคมระยะหลังๆไม่เคยเอาไปอ้างอิง)
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36043619362035853625366
เจ้าฟ้าหญิงแอนด์ แห่งอังกฤษ ก็ได้เสด็จพร้อมพระสวามีมาทอดพระเนตรกิจกรรมเรื่องเห้ด ที่ตึกวิจัยเห็ด กรมวิชาการเกษตร โดยมี ดร.อานนท์ และ ดร.ฤกษ์ ถวายการต้อนรับ
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม Copyof36293634360936093
อ.พันธุทวี ภักดีดินแดน ผู้ซึ่งคนไทยและนักเพาะเห็ดของประเทศไทย ต้องให้เกียรติท่านว่า ท่านเป็นปรมาจารย์เห็ดที่แท้จริงของประเทศไทย เพราะท่านเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการวิจัยเกี่ยวกับเห็ดในประเทศไทยต่อจาก อ.ก่าน และท่านเป็นคนแรกของไทย ที่เป็นผู้เพาะเห็ดนางรมในถุงพลาสติกและในขวดในปี 2500 ท่านเป็นทั้งอาจารย์ของ ดร.อานนท์ เป็นทั้งแม่คนที่สอง ที่คอยดูแล ปกป้อง รวมทั้งวิ่งเต้นให้เข้าทำงานเป็นนักวิชาการเรื่องเห็ด และท่านเป็นผู้สนับสนุนให้กำลังใจและปูทางสะดวกในการทำงาน ในการอบรมเห็ด ให้แก่ ดร.อานนท์ ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36113619363235943640361
ปรึกษาหารือกันตั้งสมาคมเมื่อปี 2519 โดยมี พล.ต.ต. น.พ.ชูชาติ อุตโรทัย เป็นประธาน มี ดร.วิชัย นบอมรบดี อ.อนงค์ จันทร์ศรีกุล ดร.ออมทรัพย์ นบอมรบดี อ.พันธุ์ทวี ภักดีดินแดน ถ่ายภาพโดย ดร.อานนท์ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ในที่ประชุมเห็นพ้องให้เชิญ ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ มาเป็นนายก ทั้งๆที่ ดร.วิชัย และ ดร.ออมทรัพย์ มีความสนิทสนมกับ อเผดิม ฐิตะฐาน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตรสมัยนั้น
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36113619363235943640361
การประชุมคณะกรรมการสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยต่อมาที่มีนายเผดิม ฐิตะฐาน เป็นนายกสมาคม ในการประชุมครั้งนี้ ได้มีเฮียหลี หรือนายเติม ทรัพย์โภคี เข้าร่วมประชุมด้วย
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36293640361736343621363
ดร. ดี แอล อุมาลี และ ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล ที่บ้านพักส่วนตัวของท่านที่เมืองลอสเบนยอส ประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2528 ท่านเป็นผู้ผลักดันให้ ดร.อานนท์ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเห็ด โดยทำอุบายว่าจะส่งไปเรียนภาษาอังกฤษเสียก่อน แต่ให้เงินเดือนเท่ากับผู้เชี่ยวชาญ
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36043619362035853625366
ดร.ฤกษ์ เป็นแขกผู้ใหญ่ ในงานบรรพชา พระภิกษุอานนท์ เอื้อตระกูล เมื่อปี 2523
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36493605365635913591363
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36493605365635913591363
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36493605365635913591363
สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม 36493605365635913591363
ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ ได้ให้เกียรติสวมพวงมาลัยให้แก่คู่บ่าวสาว(อานนท์ เยาวนุช) และกล่าวอวยพรในวันสมรสวันที่ 25 มิถุนายน 2524 ขณะที่เจ้าบ่าวสาวไม่ได้พูดพล่ามอะไร ขอร้องเพลงจากใจให้ฟังในเพลงฝากหมอน โดยร้องคนละท่อนสลับกันไป แล้วก็ปิดท้ายด้วยเพลงยาใจยาจก เพราะทั้งคู่เริ่มจากศูนย์ มีเงินหมั้นเจ้าสาว(จากการยืมจากแขกที่มาในงาน) เพียง 40 บาท เท่านั้น จึงกลั่นความรู้สึกมาเป็นเพลงยาใจยาจก จนทำให้งานแต่งกลายเป็นงานซึมไปสักพัก ก่อนที่จะเสริฟด้วยไอศครีมเห็ด บาบิคิวเห็ด ราวกับว่า งานแต่งเป็นงานิทรรศการเห็ด ในท่อนหนึ่งของเพลงเริ่มต้นด้วย "เมื่อได้อยู่กับชู้ชื่น ต้องกล้ำกลืนเพราะความจน ต้องบากบั่นกันสองคน แต่ก็ไม่พ้นความจนได้ ต่างก็อยู่ไม่รู้ห่าง ไม่มีจางไปจนตาย ..........."

ดูเอาซิ ผมถามแค่สั้นๆ ดร.อานนท์ ก็ต้องไปค้นเอาเรื่องราวที่แทบจะไม่มีใครทราบมาก่อนมาเล่าให้ฟัง เล่าแล้วยังไม่พอ ยังเอาหลักฐานต่างๆมาให้ดูอย่างน่าสนใจยิ่ง อย่างนี้ก็ชักมันสำหรับผมเสียแล้ว และผมจะถามในโอกาสต่อไปถึงทำอย่างไร ไปๆมาไปเป้นผู้เชี่ยวชาญเห็ดแท้ๆที่ แอฟริกา ไหนกลับหันไปเป็นผู้เชี่ยวชาญสร้างถนนและปั้มน้ำมันเสียหลายประเทศ แล้ว ที่อกหัก เพราะคนไทยด้วยกัน ที่พาไปทำงานที่แอฟริกาแท้ๆ ทั้งๆที่เป้นคนตกงานในเมืองไทย แต่พอไปแล้วกลับมาหักหลัง ดร.อานนท์ จนกระทั่ง ดร.อานนท์หลังหักกลับมามือเปล่านั้น มีความเป็นมาอย่างไร ผมจะหาโอกาสถามให้ก็แล้วกัน

MC.TGN
MC.TGN

จำนวนข้อความ : 5
Join date : 01/12/2011

ขึ้นไปข้างบน Go down

สัมนาเห็ด ที่โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด โดยมี ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ จะพูดถึงเรื่องอดีต..ปัจจุบันของเห็ดไทย ไม่ทราบ ดร.อานนท์ รู้จัก ดร.ฤกษ์ไหม Empty กำหนดการสัมนาเห็ดโดยสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย ได้กำหนดมาให้ดูแล้ววัีนนี้เอง ใครสนใจเข้าดูรายละเอียดได้ที่นี้

ตั้งหัวข้อ  Pai_Anonworld Thu Dec 08, 2011 12:37 pm

ทางอานนท์ไบโอเทค เพิ่งได้รับกำหนดการสัมมนาเห็ดฉบับปรับปรุงล่าสุดเมื่อไม่กี่นาทีนี้เอง ดังนั้น ใครสนใจที่อยากเข้าร่วมสัมนาก็ขอให้ติดต่อผู้เกี่ยวข้องก็แล้วกัน งานนี้แม้ว่าทางอานนท์ไบโอเทคเพิ่งได้รับรายละเอียดแต่ก็คงเข้าร่วมเต็มที่และสามารถเจอ ดร.อานนท์ได้ที่งานนี้ทั้ง 2 วัน

สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย โดยการสนับสนุนของกรมวิชาการเกษตร และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) องค์กรมหาชน และภาครัฐต่างๆ ได้ จัดประชุมวิชาการเห็ดแห่งชาติ ในระหว่างวันที่ 14 ถึง 17 ธันวาคม 2554 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด อ.เมือง จ. เชียงใหม่ โดยใช้ชื่อการประชุมครั้งนี้ว่าการประชุมวิชาการเห็ดแห่งชาติ“รักเห็ด รักษ์โลก” ซึ่งอยู่ในช่วงของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 ระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2555 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของการจัดการประชุมวิชาการเห็ดแห่งชาตินี้เพื่อนำเสนองานวิจัยด้านเทคโนโลยีการผลิตเห็ด และการแปรรูปเห็ดในลักษณะที่สามารถปรับใช้ประโยชน์ได้ภายใต้แนวคิดเกษตรพอเพียง อย่างไรก็ดี สภาวะโลกร้อน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ย่อมส่งผลกระทบต่อการเจริญของเห็ดทั้งในธรรมชาติ และในโรงเรือนเพาะเห็ด จึงได้จัดให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับชีววิทยา และความหลากหลายของเห็ดในสภาพธรรมชาติ เพื่อให้ทราบถึงความเป็นไปและความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้นยังมีการนำเสนองานเกี่ยวกับการจัดจำแนกชนิดของเห็ด การนำเห็ดจากธรรมชาติมาสกัด หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นยา เป็นเครื่องสำอาง และเป็นสารในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การจัดประชุมวิชาการเห็ดแห่งชาติในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นเวทีสำหรับเผยแพร่งานเกี่ยวกับเห็ดด้านต่างๆ ของนักวิชาการและเกษตรกรที่อยู่ในวงการเห็ดแล้ว ยังจะเป็นแหล่งที่รวบรวมผลงาน แนวคิดทัศนคติต่างๆ เกี่ยวกับวงการเห็ด เพื่อพัฒนางานเห็ดของประเทศไทย ให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

รูปแบบการประชุม ประกอบด้วย:
1. การบรรยายพิเศษของผู้เชี่ยวชาญด้านเห็ด การนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์
2. การเสวนา “อนาคตเห็ดไทย”
3. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การประกอบอาหารจากเห็ดและการแปรรูปเห็ด”
4. การจัดนิทรรศการจากภาครัฐฯและเอกชนเกี่ยวกับ การเพาะและการใช้ประโยชน์จากเห็ด
5. ศึกษาดูงานการเพาะเห็ดเมืองหนาว

คาดหวังว่านักวิชาการทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะเห็ดได้รับทราบผลงานวิจัยใหม่ๆ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์เพื่อการพัฒนางานวิจัยเห็ดของประเทศ รวมทั้งมีความเข้าใจเรื่องการผลิต และการตลาด พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร ซึ่งจำเป็นสำหรับการนำเข้าและส่งออกเห็ดในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเห็ด โดยการแปรรูปและผลิตภัณฑ์เห็ดใหม่ๆ สำหรับผู้สนใจทั่วไป อีกด้วย

ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย นักวิชาการ อาจารย์ นักส่งเสริมการเกษตร นิสิต-นักศึกษาเกษตรกร สมาชิกสมาคมฯ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไปจากภาครัฐและเอกชน ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเบิกค่าลงทะเบียนและค่าใช้จ่ายเดินทางได้จากต้นสังกัด ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการประชุมสัมมนา ตามหนังสือ ข้อที่ 2.4 ฉบับที่ 6 พ.ศ.2539 และไม่ถือเป็นวันลาตามระเบียบของทางราชการ

วันที่ 14-17 ธันวาคม 2554 โรงแรมเชียงใหม่ออร์คิด อ.เมือง จ. เชียงใหม่

กำหนดการประชุมวิชาการเห็ดแห่งชาติ

วันที่ 14 ธันวาคม 2554
15:00-19:00 น. ลงทะเบียนและติดโปสเตอร์

วันที่ 15 ธันวาคม 2554
พิธีเปิดการประชุมและการบรรยายพิเศษ
ห้องบรรยายรวม : ห้องรอยัลออร์คิดบอลรูม

07:00-08:45
ลงทะเบียน ชมนิทรรศการและผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์
08:45-09:45 พิธีเปิดการประชุมและการบรรยายพิเศษ
โดย ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี
“โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”

09:45-10:00 พักรับประทานอาหารว่าง
10:00-10:40 การบรรยายพิเศษ โดย ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์
รองผู้อำนวยการโครงการพัฒนาดอยตุงฯ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์
“สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย อดีต...สู่...ปัจจุบัน”
10:40-11:20 การบรรยายพิเศษ โดย Prof. Dr. Kevin D. Hyde
“Thai mushrooms, from nature to the supermarket”
11:20-12:00 การบรรยายพิเศษ โดย Prof. Dr. Tadanori Aimi
“Genetics and breeding of mushroom”
12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน (ห้องอาหารจีนภูพิงค์)

13:00-17:00 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ภาคบรรยาย 4 ห้อง

17:00-18:00 การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ภาคโปสเตอร์

18:00-20:30 งานเลี้ยงอาหารเย็น (บริเวณสระน้ำ)

การนำเสนอผลงานวิชาการภาคบรรยาย
ห้องบรรยายที่ 1 (Session 1) : ห้องรอยัลออร์คิดบอลรูม
เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเห็ด ปัญหา และอุปสรรค คุณค่าทางโภชนาการ วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวการแปรรูป และการตลาดเห็ด: เสนอผลงานเป็นภาษาไทย
ประธาน: รศ.ดร. นิวัฒ เสนาะเมือง
รองประธาน: รศ.ดร. วสัณน์ เพชรรัตน์

13:00-13:20
ความก้าวหน้าในการเพาะเห็ดถั่งเช่า
ธัญญา ทะพิงค์แก และธวัช ทะพิงค์แก

13:20-13:40 Cultivation of Phlebopus portentosus (Berk. et Broome) Boedijn Nantinee Srijumpa, Wai Intakaew and Bandit Jan-ngam

13:40-14:00 การเพาะเห็ดหมื่นปี (Ganoderma lucidum) และเห็ดแครง (Schizophyllum commune) ด้วยใบหญ้าแฝกลุ่ม (Vetiveria zizanioides) พันธุ์ปลูกศรีลังกา
รัฐพล ศรประเสริฐ สยาม อรุณศรีมรกต อนงคณ์ หัมพานนท์ และอาทิตย์ ศุขเกษม

14:00-14:20 การเพาะเห็ดโดยใช้วัสดุเศษเหลือจากปาลม์น้ำมัน
วสัณน์ เพชรรัตน์

14:20-14:40 เห็ดป่าเมืองไทย: ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์
นิวัฒ เสนาะเมือง

14:40-15:00 ปัจจัยที่มีผลต่อการเพาะเห็ดอย่างต่อเนื่องของเกษตรกร: กรณีศึกษาฟาร์มเห็ดในเขตอีสานใต้
ชริดา ปุกหุต และอุทัย อันพิมพ์

15:00-15:20 พักรับประทานอาหารว่าง
15:20-15:40 การจัดการความรู้เห็ดพื้นบ้าน สู่การสร้างฐานอาหารและทรัพยากรป่าไม้ที่ยั่งยืน
อุทัย อันพิมพ์ และชริดา ปุกหุต

15:40-16:00 ฟาร์มเห็ดหลินจือเขากวาง (Ganoderma amboinense) ที่เกาะไหหลำ
ธวัช ทะพิงค์แก และธัญญา ทะพิงค์แก

16:00-16:20 การใช้วัสดุเหลือทางการเกษตรจากข้าวโพด (ต้นและเปลือกฝัก) เพื่อการผลิตเห็ดถั่ว
ธัญญา ทะพิงค์แก

16:20-16:40 Study of nham hed kai han for product development
Nitaya Boontim, Parinya Chantrasri and Saisamorn Lumyong

16:40-17:00 System management of hed kone noi (Coprinus mushroom) cultivation in growing house
Parinya Chantrasri and Suwit Wongsila

17:00-18:00 การนำเสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์

ห้องบรรยายที่ 2 (Session 2): ห้องลานนาไทย
เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดและราขนาดใหญ่: เสนอผลงานเป็นภาษาไทย
ประธาน: ผศ.ดร. ประพันธ์ โอสถาพันธุ์
รองประธาน: ผศ.ดร. ทรงศักดิ์ จันทรอุดม

13:00-13:20
Diversity of macrofungi (Ascomycota) in the forest surrounding of Pha Nok Kao silvicultural station
Sophon Boonlue, Wareeratana Sanmanoch, Viroj Krongkitsiri, Wiyada Mongkolthanaruk, Somdej Kanokmedhakul, Kasem Soytong and Tadanori Aimi

13:20-13:40 การใช้ประโยชน์จากเห็ดเรืองแสง Neonothopanus nambi Speg.
วีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริรัตน์ สุรีย์พร บัวอาจ สมเดช กนกเมธากุล รัศมี เล็กพรหม และวีรวัฒน์ นามานุศาสตร์

13:40-14:00 การผลิตไวน์สับปะรดเสริมฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยเห็ดหมื่นปี Ganoderma lucidum (Ley.ex.Fr.) Kar.
กนกพร ผลประสิทธิ์ และพิสุทธิ์ พวงนาค

14:00-14:20 การปรับปรุงสายพันธุ์เห็ดฟางให้มีผลผลิตสูงด้วยรังสีแกมมา
งามนิจ เสริมเกียรติพงศ์ และเสาวพงศ์ เจริญ

14:20-14:40 การจัดการฟาร์มเห็ดเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตของเห็ดนางรมและเห็ดหูหนู
วสันต์ ศรีพรม และสมจิตร อยู่เป็นสุข

14:40-15:00 วิจัยและพัฒนาโรงเรือนเปิดดอกเห็ดนางรม
วิโรจน์ โหราศาสตร์ วันชัย คุปวานิชพงษ์ นาวี จิระชีวี สราวุฒิ ปานทน ทวีศักดิ์ บุญคุ้ม และสุวลักษณ์ ชัยชูโชติ

15:00-15:20 พักรับประทานอาหารว่าง
15:20-15:40 Aurisin-A, new bioactive compound from luminescent mushroom (Neonothopanus nambi) and its effect on root-knot nematode (Meloidogyne incognita Chitwood)
Sureeporn Bua-art, Weerasak Saksirirat, Somdej Kanokmedhakul, Anan Hiransalee and Ratsami Lekphrom
15:40-16:00 ชนิดของเห็ดป่าในสวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สมถวิล แจ้งจิตร โสภณ จิมานัง และชริดา ปุกหุต

16:00-16:20 Taxonomy, suitable growth condition and nutrition factors on in vitro culture of black bolete
Jaturong Kumla and Saisamorn Lumyong

16:20-16:40 การจัดการความรู้สึกในการผลิตเห็ดยานางิแบบครบวงจรที่เหมาะสมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตเห็ดกิ่วแลหลวง ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
พงษ์ศิริ วิพุธพงษ์

16:40-18:00 การนำเสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์

ห้องบรรยายที่ 3 (Session 3): ห้องสายวิสุทธิ์
งานวิจัยทั่วไปเกี่ยวกับเห็ดและราขนาดใหญ่ : เสนอผลงานเป็นภาษาไทย
ประธาน: ดร. สัญชัย ตันตยาภรณ์
รองประธาน: คุณ อรสา ดิสถาพร


13:00-13:20
การสำรวจความหลากหลายเบื้องต้นของเห็ดในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
อมรรัตน์ พิทักษ์พงษ์ หนูเดือน เมืองแสน และพงศ์เทพ สุวรรณวารี

13:20-13:40 Macrophage immunomodulatory activity of polysaccharides Isolated from Ganoderma lucidum G2
Nipaporn Armassa, Surasak Ratree, Nukrob Narkprasom, and Tzou-Chi Huang

13:40-14:00 วิถีชีวิตและภูมิปัญญาการบริโภคเห็ดป่าของคนในท้องถิ่นน่าน
พรรณพร กุลมา

14:00-14:20 พฤติกรรมการป้องกันเพื่อความปลอดภัยในการบริโภคเห็ดพิษของคนท้องถิ่นน่าน
พรรณพร กุลมา

14:20-14:40 A new truffle from Thailand
Rattaket Choeyklin, Thitiya Boonpratuang, Sujinda Sommai and Sayanh Somrithipol

14:40-15:00 Horsehair mushroom (Maramius) from Khao Yai National Park
Thitiya Boonpratuang, Tanapat Chomee, Thaksin Lertsum -larn, Pucharapa Puyngain and Atinoot Wiriyageerapipat

15:00-15:20 พักรับประทานอาหารว่าง
15:20-15:40 Edible gelatinized sooty mold species from Thailand
Boonsom Bussaban, Nittaya Boontim and Saisamorn Lumyong

15:40-16:00 การวิจัยเพื่อพัฒนาการผลิตเห็ดฟางโรงเรือนที่เพาะด้วยเปลือกหัวมันสำปะหลังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเสริฐ วุฒิคัมภีร นฤทัย วรสถิตย์ นพมาศ แสงรัมย์ และพจรจิตร์ นวลผิว

16:00-16:20 เห็ดโคนไทยสายพันธุ์ยูนานและเห็ดโคนดำ
พยง แสนกมล

16:20-16:40 การเปลี่ยนแปลงของวิตามินดีในเห็ดบริโภคได้ของไทยเมื่อฉายรังสีอัลตราไวโอเลตบี
ณัฐสุดา บรรเลงสวรรค์ และนิวัฒ เสนาะเมือง

17:00-18:00 การนำเสนอผลงานวิชาการภาคโปสเตอร์


ห้องบรรยายที่ 4 (Session 4): ห้องเข็มแสด
ความหลากหลายทางชีวภาพ การจำแนกและอนุกรมวิธานของเห็ดราขนาดใหญ่และการใช้ประโยชน์
Session 4: Biodiversity, taxonomy of mushrooms and macrofungi and their utilization
Chair-person: Professor Cynthia C. Divina (Philippines)
Co-chair: Joselito Dar (Philippines)

13:00-13:20 Application of ergothioneine-rich mushroom extracts to control postharvest melanosis in commercially valuable crustaceans
Angel B. Encarnacion, Fernand Fagutao, Ikuo Hirono, Toshiaki Ohshima, Orapint Jintasatapornc and Wanchai Worawattanamateekul

13:20-13:40 Application of the waste mushroom extract in food industries
Angel B. Encarnacion, Fernand Fagutao, Ikuo Hirono, Toshiaki Ohshima, Orapint Jintasatapornc and Wanchai Worawattanamateekul

13:40-14:00 Lentinus – exiting findings from Thailand
Samantha C. Karunarathna and Kevin D. Hyde

14:00-14:20 Thailand network of culture collection
Wanchern Potacharoen, Khunying Prapaisri Pitakprivan and Malee Suwana-Adth

14:20-14:40 Super – Agaricus – The healing food
Pamela P. Alva

14:40-15:00 The mushroom industry in Central Luzon, Philippines towards fine tuning R&D and extension for industry revitalization
Emily A. Soriano

15:00-15:20 Coffee & tea break
15:20-15:50 Mushroom morphogenesis: Environmental factors affecting mushroom production
Akira Suzuki

15:50-16:20 Mushroom for wealth, health and beauty,
Cynthia Cervero Divina and Raul Domingo Divina

16:20-16:40 First report of the cultivation of a wild strain of the Agaricus subrufescens complex collected in Asia (Thailand)
Naritsada Thongklang, Kevin D. Hyde, Phongeun Sysouphanthong, Samantha Karunarathna, Ekachai Chukeatirote, Regulo Carlos Llarena Hernandez, Jean- Michel Savoie and Philippe Callac
16:40-17:00 Effect of raw materials, pH and temperature on mycelial growth of Lentinus connatus and L. roseus
Namphung Klomklung, Ekachai Chukeatirote and Kevin D. Hyde

17:00-17:20 Wild Ganoderma spp. and their potential as medicinal mushrooms
Vikineswary, S., Tan Wee Cheat, Saraswathy, Priscilla J,M., Tan Yee Shin, Chew Swee Kins, Pamela Rosie David, Murali Naidu and Umah Rani Kuppusamy

วันที่ 16 ธันวาคม 2554
การบรรยายพิเศษและเสวนาอนาคตเห็ดไทย
ห้อง รอยัลออร์คิดบอลรูม
08:45-09:15 บรรยายพิเศษ เรื่อง "Modern Japanese mushrooms production"
Dr. Yoshinobu Kitajima จากประเทศญี่ปุ่น

09:15-09:45 บรรยายพิเศษ เรื่อง “The 3rd generation mushroom production”
Dr. Abe Kazunari จากประเทศญี่ปุ่น

09:45-10:00 รับประทานอาหารว่าง (coffee and tea break)
10:00-12:00 การเสวนาเรื่อง “อนาคตเห็ดไทย”
ดำเนินรายการโดย อ.อดิศักดิ์ บ้วนกียาพันธ์ (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
ดร. อานนท์ เอื้อตระกูล (อดีตผู้เชี่ยวชาญเห็ด ประจำองค์การสหประชาชาติ)
ดร. อุษา กลิ่นหอม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
ดร.กิตติ วิฑูรวิทยลักษณ์ (อุปนายกสมาคมฯ และเจ้าของบริษัท (ผักด๊อกเตอร์)

12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน ห้องอาหารช่อม่วง (lunch)
13:30-14:45 คุณค่าทางอาหารของเห็ด โดยการสาธิตทำอาหารเห็ด
- อาหารเห็ดจานเด็ด โดยเชฟกิตติมศักดิ์ (ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์)
- เห็ด unseen โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
14:45-15:00 รับประทานอาหารว่าง (coffee and tea break)
15:00-16:30 เสวนาแปรรูปเห็ด:
ดำเนินรายการโดย นายชาญยุทธ์ ภาณุทัต (กรมส่งเสริมการเกษตร)
ดร. ภัทรา อะหมะดี พีรซะหีด (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)
คุณโฉมสุดา หาญศิริชัย (วิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาหารนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่)
คุณอุดมลักษณ์ กาญจนอร่ามกุล (นายกเทศมนตรี ตำบลเจ็ดเสมียน อำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี)
คุณสมเพชร วงศ์เรียน (สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง)


วันที่ 17 ธันวาคม 2554
ทัศนศึกษา ศึกษาดูงานการเพาะเห็ดเมืองหนาว
(เส้นทางที่ 1 และ 2 เส้นทางละ 40 คน และออกเดินทางเวลา 07:00 น.,
เส้นทางที่ 3 ไม่จำกัดจำนวน และออกเดินทางตั้งแต่เวลา 09:00 น.)
เส้นทางที่ 1 ศึกษาดูงานฟาร์มเห็ดกระดุม (แชมปิญอง) และเห็ดหอม ที่ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย และฟาร์มเห็ดหอมที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่
เส้นทางที่ 2 ศึกษาดูงานการเพาะเห็ดกระดุมสีน้ำตาล (แชมปิญอง) และเห็ดเมืองหนาว พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ที่ศูนย์วิจัยโครงการหลวงขุนวาง บ้านขุนวาง ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่
เส้นทางที่ 3
(ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ชมงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติ บริการรถรับส่ง และให้บัตรฟรีเข้าชมงาน (บัตรเข้าชมงานราคา 200 บาท)
หน่วยงานรับผิดชอบการจัดการประชุม
สมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
กรมวิชาการเกษตร แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
ตู้ ปณ. 1094 ปทฝ เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ 10903
โทรศัพท์ 0-2579-0147, 0–2579–5581 โทรสาร 0–2579-5581
http://www.thaimushroomsoc.com

โดย
คุณหญิงประไพศรี พิทักษ์ไพรวัน
นายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย
ประธานคณะกรรมการจัดการประชุม

รศ.ดร.ชัยวัฒน์ โตอนันต์
ประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชุมวิชาการ
ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
โทร. 08-5036-1826, อีเมล์: chaiwat.toanun@gmail.com

หน่วยงานร่วมจัดงานและร่วมสนับสนุนการประชุม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
มูลนิธิสวิตา
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก

Pai_Anonworld
Pai_Anonworld

จำนวนข้อความ : 1316
Join date : 29/11/2010
Age : 41

http://www.anonworld.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics
» คำถามจากคุณณัฐพงศ์ ผ่านทางอีเมล์ของ ดร.อานนท์
» อบรมเห็ดถั่งเฉ่า
» วางกระถางต้นไม้ในเรือนเพาะเห็ด
» 30 ปีแห่งการรอคอย ที่ผลักดันเห็ดเป็นยาให้มีบทบาทในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
» คุณจักรภฤต รายงานเรื่องเห็ดโคนข้าวตอกเกิดขึ้นบนจาวปลวก และอยากทราบการเพาะเห้ดในขอนไม้ เห้ดตับเต่าและเห็ดเผาะ

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ