Anon Biotec web board
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

ปัญหาการหมักแบบใช้อากาศ

Go down

ปัญหาการหมักแบบใช้อากาศ Empty ปัญหาการหมักแบบใช้อากาศ

ตั้งหัวข้อ  สมาชิกทั่วไป Tue Jul 06, 2010 3:42 pm

เรียน อ.อานนท์ เอื้อตระกูล

กระผม ได้เริ่มต้นเพาะเห็ดฟาง โดยใช้ฟาง เป็นวัสดุรองพื้น และ ใช้เปลือกถั่วเหลืองเป็นวัสดุคลุม โดยแช่ฟางไว้ในน้ำ 5 วัน (ในน้ำผสม UM 92 ด้วย) และนำขึ้นมาหมักแบบอับกาศ 7 คืน กลับกอง ทุก ๆ 3 วัน (ส่วนผสมปุ๋ยหมักใช้ ปูนขาวของทาง ศูนย์ และ ใช้ สตาร์ทเตอร์ ในอัตราส่วน ตามหนังสือ เพาะเห็ดฟาง แบบอานนท์ 52 ) ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ได้นำปุ๋ยหมักขึ้นมาใส่ในกระบะ และ คลุมด้วย เปลือกถั่วเหลือง (หมักแล้ว) หลักจากนั้นใส่ส่วนผสม KAT 201 และ คิ๊กอ๊อฟ (ในอัตราส่วน ตามหนังสือ) และรดน้ำ (เปียกโชก)


ก่อนนำกระบะเพาะใส่ห้อง หมักแบบใช้อากาศ ได้ เพิ่มไอน้ำให้ในห้อง มีอุณหภูมิ 50 องศา หลังจากนั้น ได้หยุดเพิ่มไอน้ำ แต่ปรากฎว่า อุณหภูมิห้องได้ลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งตอนเช้า ในห้องมีอุณหภูมิ 23 องศา (อุณหภูมิด้านนอก 14 องศา) และตอนกลางวันในห้อง ในห้องมีอุณหภูมิ 31 องศา (อุณหภูมิด้านนอก 33 องศา) พอถึงวันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2553 ได้เปิดห้องมาดูเพื่อจะทำการอบไอน้ำฆ่าเซื้อรา ปรากฎว่า เชื้อราขึ้นที่วัสดุเพาะน้อยมาก


จึงขอเรียนถามดังนี้


1.จะทำอย่างไรถึงจะให้เชื้อราขึ้นมากกว่านี้
2. จะทำการอบไอน้ำฆ่าเชื้อราได้เมื่อใด
3.พื้นที่ที่กระบะเพาะ มีเนื้อที่ 18 ตร.ม.ควรใช้เชื้อเห็ดกี่ถุง


จึงเรียนมาเพื่อทราบ


ขอแสดงความนับถือ

ศุภกิจ ละเอียดดี
081-444-xxxx


สมาชิกทั่วไป
สมาชิกทั่วไป

จำนวนข้อความ : 247
Join date : 04/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ปัญหาการหมักแบบใช้อากาศ Empty Re: ปัญหาการหมักแบบใช้อากาศ

ตั้งหัวข้อ  สมาชิกทั่วไป Tue Jul 06, 2010 3:43 pm

ดูจากที่ได้รายงานมานั้น คิดว่า การเอาฟางแช่น้ำถึง 5 วันนั้นนานเกินไป เพราะจะกลายเป็นว่ามันจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไป ที่จริงควรแช่น้ำพออิ่มตัว หรือไม่เกินวันก็พอแล้ว แล้วเอาขึ้นมาหมักกับปูนขาวและสตาร์ทเตอร์ โดยหมักระยะแรก พยายามทำให้กองค่อนข้างแน่น เพื่อให้มันอยู่ในภาวะอับอากาศ หรืออากาศถ่ายเทน้อย ทำกองให้สูงประมาณ 1-1.2 ม. หมักไว้สัก 2-3 วันจึงทำการกลับกอง และให้กลับกองทุกๆ 2-3 วัน ประมาณ 3-4 ครั้งหรือประมาณ 10-12 วัน ส่วนเปลือกถั่วนั้น จะแยกหมักก็ได้ โดยทำการหมักเช่นเดียวกับฟาง แต่ไม่ต้องใช้สตาร์ทเตอร์มาก ใช้เพียงครึ่งเดียวของฟางก็พอ หมักสัก 3-4 วัน เท่านั้น โดยกลับกองวันที่ 2 หรืออาจจะเอาเปลือกถั่วหมักไปพร้อมกับฟางได้เลย โดยใส่เข้าไปหมักในการกลับกองครั้งที่ 3


ทั้งฟางหมักและเปลือกถั่ว ก่อนที่จะนำใส่กระบะหรือขึ้นชั้น ให้ทำการคลุกเคล้ากับอาหารเสริม 201 ในช่วงที่คุณทำนั้น น่าจะเจออากาศหนาวพอดี ลักษณะเช่นนี้ ความสูงของวัสดุเพาะจะต้องใส่ให้หนายิ่งขึ้น โดยฟางอาจจะใส่หนาประมาณ 4-6 นิ้ว เปลือกถั่ว2-3 นิ้ว และจะให้ดีใส่วัสดุที่ดูดความชื้นได้ดีเข้าไปด้วย เช่น ผักตบชวาสด หรือ ขี้ฝ้าย ก็จะช่วยเรื่องของอุณหภูมิได้


การเลี้ยงเชื้อรานั้น ไม่ควรใส่ใจเฉพาะอุณหภูมิเท่านั้น จะต้องให้ความสนใจเรื่องของอากาศด้วย เพราะระยะนี้ต้องการเชื้อราที่ต้องใช้อากาศ ดังนั้นต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง หากมีการพ่นไอน้ำเข้าไปในระยะแรก จะต้องเพิ่มอากาศเข้าไปด้วย ไม่เช่นนั้นจะอับอากาศ เชื้อราจะเกิดขึ้นน้อย


การที่จะอบฆ่าเชื้อเมื่อไหร่นั้น ให้สังเกตดูว่า ปุ๋ยหมักมีกลิ่นหอมแล้วหรือยัง โดยปกติกลิ่นหอมมากๆ ก็จะมีเชื้อรามากด้วย จุดนั้นแหละสามารถทำการอบไอน้ำได้
การอบไอน้ำนั้น จะต้องค่อยๆปล่อยอุณหภูมิขึ้น อย่างให้เร็วมากเกินไป เมื่อได้อุณหภูมิ 65-67 ที่ระดับความสูงที่วัด ประมาณ ครึ่งหอ้ง หรือประมาณ 1.20 ซม.จากพื้น ให้รักษาอุณหภูมิดังกล่าวไว้ประมาณ 4-5 ชม. แล้วจึงปิดไอ ปล่อยให้อุณหภูมิลดลงเอง ส่วนมากจะทิ้งไว้ข้ามคืน โดยอีกวันจะทำการโรยเชื้อเห็ด โดยใช้เชื้อเห็ด 1 ถุง(ขนาดของศูนย์จำหน่าย) ใช้ได้กับพื้นที่ผิวของวัสดุเพาะ 2-3 ตารางเมตร



ดร.อานนท์ เอื้อตระกูล


สมาชิกทั่วไป
สมาชิกทั่วไป

จำนวนข้อความ : 247
Join date : 04/07/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน


 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ